แผนที่ชุมชนและการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตทุ่งครุกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ศิริพันธ์ นันสุนานนท์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

ความหลากหลายทางวัฒนธรรม, การท่องเที่ยวโดยชุมชน

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของเขตทุ่งครุโดยการจัดทำแผนที่ทางวัฒนธรรม และ 2) ออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวภายในของชุมชน โดยการศึกษาได้ใช้ระเบียบการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างสำหรับการเก็บข้อมูล มีจำนวน 30 คน ได้แก่ ผู้นำชุมชน อิหม่าม พระ นักพัฒนาชุมชนเขตทุ่งครุ ครูในโรงเรียนโดยใช้วิธีการเจาะจง ด้วยวิธีการแบบสอบถาม สัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และบันทึกภาพ ในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า 1) เขตทุ่งครุมีแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่หลากหลายที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมมาตั้งแต่อดีต มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรดินและน้ำที่ดึงดูดให้คนกลุ่มต่าง ๆ เข้ามาตั้งหลักแหล่ง ก่อให้เกิดความเป็นพหุทางวัฒนธรรม (Multiculture) ที่หลากหลายของผู้คนในพื้นที่ที่ปรากฏในรูปของศาสนสถาน ได้แก่ วัด มัสยิด ศาลเจ้า ฯลฯ และแหล่งภูมิปัญญาทางอาชีพ เช่น แปลงปลูกส้ม ปศุสัตว์ เป็นต้น 2) การออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ตามแนวคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งชุมชนเป็นเจ้าของทุนทางวัฒนธรรมร่วมกัน จากข้อมูลพบว่าชุมชนในเขตทุ่งครุบางส่วนที่ยังคงสภาพเป็นชุมชนดั้งเดิมเช่น หมู่ 3 หมู่ 5 บางมด มีแนวโน้มที่สามารถจัดรูปแบบเส้นทางการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบบครึ่งวันและเต็มได้ ซึ่งเหมาะแก่เยาวชนและนักเรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และยอมรับในความแตกต่างทางวัฒนธรรม ตลอดจนผู้ที่ชื่นชอบในวัฒนธรรมเชิงจิตวิญญาณที่ต้องการหาที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ศิริพันธ์ นันสุนานนท์, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ปริญญาตรี สาขาประวัติศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 2) มหาวิทยางลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ปริญญาโท สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ติดต่อผู้แต้ง โทร. 0917754698

References

กิตติกาญจน์ หาญกุล. (2560). จริยธรรมการอยู่ร่วมกันของชุมชนพหุวัฒนธรรม : กรณีศึกษาปฎิบัติทางสังคมของชุมชนคลองหกในเขตชลประทานทุ่งรังสิต จังหวัดปทุมธานี. ใน แรงงานเพื่อนบ้านกับคนไทย : ทำงานและอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจ. กรุงเทพ: วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ้งภากรณ์.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (2561). การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2561, จาก http://www.tatreviewmagazine.com/article/cbt-thailand/

ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). การวางแผนและการจัดนำเที่ยว. กรุงเทพฯ: สามลดา.

นพวรรณ ตรีศิลป์และวรรักษ์ สุเฌอ. (2561, กรกฎาคม-ธันวาคม). การจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว กรณีศึกษากาดบ้านฮ่อ ชุมชนมุสลิมบ้านฮ่อ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 20(1): 47-48.

พัชรินทร์ เวียงชัย. (2546). แนวความคิดในการอนุรักษ์ชุมชนไท-โคราช : กรณีศึกษาหมู่บ้านพระเพลิง. สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มณีวรรณ ชาตวณิช. (2555, กรกฎาคม-ธันวาคม). การจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในชุมชนตลาดพลู เขตธนบุรี. วารสารกระแสวัฒนธรรม. 13(14): 22.

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตทุ่งครุ. (2561) .รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาปีงบประมาณ 2559 สืบค้นเมือวันที่ 31 ธันวาคม 2561 จาก http://202.29.172.133/sar/sar/1210490000_2559.pdf

สมาน ธีรวัฒน์. (2531). การตั้งถิ่นฐานของชาวไทยมุสลิมในกรุงเทพมหานคร อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาภูมิศาสตร์. คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร. (2561). รายงานโครงการจัดทำแผนแม่บทการปรับปรุง ฟื้นฟู และอนุรักษ์ ย่านในกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2561 จาก www.bma-cpd.go.th/files/admin/InhouseProgressReport5301.html

สำนักรักษาความสะอาด กรุงเทพมหานคร (2546). คู่มือประชาชนคนรักคลอง. กรุงเทพมหานคร : มปท.

สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร. (2561). ข้อมูลชุมชนกรุงเทพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2561 จาก http://www.bangkok.go.th/social/page/sub/3607/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29