แนวความคิดหลังจากการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงจริยธรรมทางการวิจัยนาฏยศิลป์

ผู้แต่ง

  • ลักขณา แสงแดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

จริยธรรมการวิจัย, นาฏยศิลป์สร้างสรรค์, การลักลอกงานวิชาการ, การละเมิดจริยธรรมการวิจัยนาฏยศิลป์, นาฏยศิลป์

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง การสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงจริยธรรมทางการวิจัยนาฏยศิลป์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาแนวความคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงจริยธรรมทางการวิจัยนาฏยศิลป์ โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยด้วยรูปแบบการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องมือที่ประกอบไปด้วย ข้อมูลทางเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏยศิลป์ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานวิจัย ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย การสังเกตการณ์ การสัมมนาในชั้นเรียนการสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมทางการวิจัย สื่อสารสนเทศ และเกณฑ์มาตรฐานศิลปิน สู่กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ที่ให้ความสำคัญกับแนวความคิดที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน
          ผลการวิจัยพบว่าแนวความคิดที่ได้หลังจากสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงจริยธรรมทางการวิจัยนาฏยศิลป์ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์งานใหม่มี 10 ประการ โดยการคำนึงถึงจริยธรรมทางการวิจัยเป็นสาระสำคัญอันดับแรกภายหลังจากการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงจริยธรรมทางการวิจัยนาฏยศิลป์ รองลงมาคือการคำนึงถึงจริยธรรมทางการวิจัยนาฏยศิลป์ การคำนึงถึงการแสดงที่สร้างสรรค์ เพื่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการวิจัยทางนาฏยศิลป์ การคำนึงถึงการสะท้อนสภาพสังคมโดยใช้นาฏยศิลป์ การคำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ในงานนาฏยศิลป์ การคำนึงถึงแนวคิดของนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ การคำนึงถึงศิลปะการละครกับการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ การคำนึงถึงสัญลักษณ์ในงานนาฏยศิลป์ การคำนึงถึงทฤษฎีด้านนาฏยศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และทัศนศิลป์ รวมทั้งการคำนึงถึงการสร้างสรรค์การแสดงที่เป็นศิลปะเพื่อศิลปะ ตามลำดับ ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยนั้นตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกประการ        

References

ชวิตรา ตันติมาลา. อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. สัมภาษณ์วันที่ 19 มิถุนายน 2561.

ธรากร จันทนะสาโร. อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สัมภาษณ์วันที่ 25 ตุลาคม 2561.

ธรากร จันทนะสาโร. อาจารย์ประจำ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สัมภาษณว์ นั ที่ 28 ตลุาคม 2561.

ธรากร จันทนะสาโร. (2557). นาฏยศิลป์จากแนวคิดไตรลักษณ์ในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรงค์ คุ้มมณี. (2559). บทอัศจรรย์: นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยจากแนวคิดในวรรณคดีไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นราพงษ์ จรัสศรี. ศาสตราจารย์วิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สัมภาษณ์วันที่ 3 กันยายน 2561.

นราพงษ์ จรัสศรี. (2560). จริยธรรมทางการวิจัยนาฏยศิลป์. กรุงเทพฯ: โครงการสนับสนุนยุทธศาสตร์ ด้านการวิจัย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นราพงษ์ จรัสศรี. (2560, กรกฎาคม-ธันวาคม). จริยธรรมทางการวิจัยนาฏยศิลป์. ใน วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 19 (1) : 65-71.

ประทีป ฉัตรสุภางค์; ภัทรียา กิจเจริญ และดรุณี ภู่ขาว. (2559). จริยธรรมในวิชาชีพอาจารย์มหาวิทยาลัย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานราชบัณฑิตยสถา. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554). สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2561, จาก http://www.royin.go.th/dictionary/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29