การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากข้อถกเถียงเรื่องเพศ

ผู้แต่ง

  • วิทวัส กรมณีโรจน์ สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์, นาฏยศิลป์, เพศ, ข้อถกเถียง, ข้อถกเถียงเรื่องเพศ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากข้อถกเถียงเรื่องเพศ” มีรูปแบบในลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและแนวคิดหลังการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากข้อถกเถียงเรื่องเพศ โดยศึกษาปรากฏการณ์ของข้อถกเถียงเรื่องเพศวิถีและความเท่าเทียมในมนุษย์ นาฏยศิลป์สร้างสรรค์ในปัจจุบัน ศิลปะแบบสมัยใหม่และแบบหลังสมัยใหม่ที่ส่งผลต่องานนาฏยศิลป์ เพื่อเป็นพื้นฐานประกอบในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ จากนั้นผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสาร สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย สื่อสารสนเทศอื่น ๆ ตลอดจนวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล และนำเสนอผลงานวิจัย

             ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์เป็นการนำเสนอเรื่องราวของข้อถกเถียงเรื่องเพศมาสร้างสรรค์เป็นงานนาฏยศิลป์เพื่อสังคมลักษณะหนึ่ง โดยเป็นการแสดงข้อถกเถียงเรื่องเพศทางด้านเพศวิถีและความเท่าเทียมในมนุษย์ตามทรรศนะของวิทยาศาสตร์ มานุษยวิทยาและสังคมวิทยา สามารถจำแนกตามองค์ประกอบของการสร้างสรรค์ผลงงานทางด้านนาฏยศิลป์ทั้งหมด 8 ประการ ได้แก่ 1) บทการแสดง สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ภายใต้ลักษณะของข้อถกเถียงเรื่องเพศทางด้านเพศวิถีและความเท่าเทียมในมนุษย์ตามทรรศนะของวิทยาศาสตร์ มานุษยวิทยาและสังคมวิทยา ทั้งหมด 4 องก์ ได้แก่ องก์ 1 เพศกำหนด (Sex detemination), องก์ 2 จิตวิญญาณ (Soul), องก์ 3 พื้นที่การแสดงออก (Space) และองก์ 4 การเคลื่อนไหวของเพศวิถี (Sexuality Movement) 2) นักแสดง มีความรู้ ความเข้าใจและความสามารถทางด้านนาฏยศิลป์ รวมถึงมีประสบการณ์เกี่ยวกับเพศวิถีและความเท่าเทียมในมนุษย์ 3) ลีลานาฏยศิลป์ นำเสนอผ่านรูปแบบนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ โดยการนำแนวคิดของมาธ่า เกร์แฮม (Matha Graham), ดอริส ฮัมเฟรย์ (Doris Humphrey), พอล เทย์เลอร์ (Paul Taylor) และพีน่า เบาซ์ (Pina Bausch) ในการเคลื่อนไหวการด้นสด การใช้ท่าทางในชีวิตประจำวัน และการแสดงอารมณ์ทางการเคลื่อนไหว 4) เสียงและดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง สร้างสรรค์และประพันธ์เพลงขึ้นใหม่ที่สามารถสื่อความหมายและการสื่อสารอารมณ์ 5) เครื่องแต่งกาย ใช้การออกแบบจาก 3 แนวคิด คือ หลักศิลปะมินิมอลลิสม์ (Minimalism) หลักทฤษฎีน้อยดีกว่ามาก (Less is more) และแนวคิดแบบอาวองการ์ด (Avant-garde) 6) สถานที่ นำเสนอการจัดการแสดงในรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่ลักษณะโรงละคร โดยจัดแสดงพื้นที่แบบเปิด และมีมุมมองลักษณะวงกลม 7) แสง ใช้แนวคิดทฤษฎีของสีในการนำเสนอเรื่องราว อารมณ์ และความรู้สึก 8) อุปกรณ์ประกอบการแสดง ใช้แนวคิดสัญลักษณ์ เน้นความเรียบง่าย และสื่อสารได้ง่าย อีกทั้งมีแนวคิดหลังการสร้างสรรค์ผลงาน 7 ประการ ได้แก่ 1) แนวคิดเรื่องเพศวิถีและความเท่าเทียมในมนุษย์ 2) แนวคิดข้อถกเถียงเรื่องเพศในปัจจุบัน 3) แนวคิดความคิดสร้างสรรค์ในผลงานนาฏยศิลป์ 4) แนวคิดการใช้สัญลักษณ์ในการแสดงนาฏยศิลป์ 5) แนวคิดทฤษฎีทางด้านนาฏยศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และทัศนศิลป์ 6) แนวคิดของนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ 7) แนวคิดการสะท้อนสภาพสังคมผ่านการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อสังคม ซึ่งผลการวิจัยทั้งหมดนี้มีความสอดคล้องและตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกประการ

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้เพื่อพัฒนาการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ รวมถึงการผนวกและบูรณาการศาสตร์แขนงอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับข้อเถียงเรื่องเพศ เพื่อนำมาเป็นแนวคิดและแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านาฏยศิลป์ อีกทั้งยังประประโยชน์เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ต่อไปในอนาคต

References

กฤษรา (ซูไรมาน) วริศราภูริชา. (2551). งานฉากละคร 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คมชวัชร์ พสูริจันทร์แดง. (2558). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ผ่านพัฒนาการด้านปรัชญาในเรื่อง พระมหาชนก. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดนัย ลินจงรัตน์. (2561). ผู้อำนวยการ สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย. สัมภาษณ์วันที่ 6 สิงหาคม 2561.

ดาริณี ชำนาญหมอ. (2557). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อผู้หญิงกับการยุติความรุนแรง. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ธรากร จันทนสาโร. อาจารย์ประจำสาขาวิชานาฏศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สัมภาษณ์วันที่ 21 มิถุนายน 2561, 6 สิงหาคม 2561

นราพงษ์ จรัสศรี. ศาสตราจารย์วิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สัมภาษณ์วันที่ 1 มิถุนายน 2561

เปรมปรีดา ปราโมช ณ อยุธยา. อุปนายกสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย. สัมภาษณ์วันที่ 6 สิงหาคม 2561.

พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ. (2545). เครื่องแต่งกายเพื่อการแสดง ในการแสดงและการออกแบบ. กรุงเทพฯ: ไอเดียสแควร์

ฤทธิรงค์ จิวากานนท์. (2558). ภาพบนเวที. ใน นพมาส แววหงส์ (บรรณาธิการ) ปริทัศน์ศิลปะการละคร. กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภฤกษ์ พุฒสโร. ศิลปิน การประพันธ์ดนตรี และนักแต่งเพลงอิสระ. สัมภาษณ์วันที่ 29 สิงหาคม 2561

อภิโชติ เกตุแก้ว. นิสิตปริญญาเอก ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สัมภาษณ์วันที่ 8 มิถุนายน 2561

Cooper.S (1998). Staging Dance. Theatre Arts Book/Routledge: New York

Felski, Rita. (1994). Sexology in Culture. Introduction in Lucay Bland and Laura Doan (eds). Chicago, The University of Chicago Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29