การเขียนบทละครเวทีสำหรับผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • สุรินทร์ เมทะนี สาขาวิชาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์การดนตรีและศิลปะการแสดง คณะอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต

คำสำคัญ:

การเขียนบทละครเวที, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

           บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนการเขียนบทละครเวทีสำหรับผู้สูงอายุ ประชากรที่ใช้ในการ
ศึกษาในครั้งนี้ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง คือ ผู้สูงอายุชายและหญิง เจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลนวศรีเนอส์ซิ่งโฮม นิสิต
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต จำนวน 80 คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบวิเคราะห์สาระ
แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สาระ สถิติ ค่าเฉลี่ย และ
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ด้านคือ 1. ด้านองค์ประกอบของบทละคร ได้แก่ 1) แนวคิด
2) การเลือกเรื่อง 3) การศึกษาค้นคว้า 4) การจัดลำดับข้อมูล 5) ความยาว และ 6) การวางเค้าโครงเรื่อง 2. ด้านความต้องการ
ของผู้สูงอายุในช่วงวัยต่างๆ ได้แก่ 1) ช่วงไม่ค่อยแก่ อายุประมาณ 60-69 ปี 2) ช่วงแก่ปานกลาง อายุประมาณ 70-79 ปี 3)
ช่วงแก่จริง อายุประมาณ 80-90 ปี 4) ช่วงแก่จริงๆ อายุประมาณ 90-99 ปี 3. ด้านการรับรู้ของผู้สูงอายุ ได้แก่ 1) การ
ตระหนักรู้ด้านความแตกต่างของบุคคล: 2) เรียนรู้จากการปฏิบัติ 3) การเสริมแรงและการสะท้อนกลับ และ 4) การสร้าง
ความหมายของบุคคล 4. ด้านการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุด้านอารมณ์ 1) การแสดงออกทางอารมณ์ของผู้สูง
อายุ 2) การเลือกกิจกรรม 3) การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 4. ด้านทฤษฎีแห่งความสุข ประกอบด้วย 1) รอยยิ้ม 2) หัวเราะ และ
3) อารมณ์ดี

มีผู้เข้าชมการแสดงและตอบแบบสอบถามทั้งหมด 80 คน เป็นเพศชายร้อยละ 30 เพศหญิงร้อยละ 50 ช่วงอายุ
เรียงตามลำดับมากไปน้อยคือ 20 ถึง 30 ปี คิดเป็นร้อยละ 40 รองลงมาคือ อายุระหว่าง 71 ถึง 80 ปี อายุระหว่าง 61 ถึง
70 ปี และอายุระหว่าง 71 ถึง 80 ปี มีจำนวนเท่ากันคิดเป็นร้อยละ 11.25 และอันดับที่สามคือ อายุต่ำกว่า 20 ปี คิดเป็น
ร้อยละ 8.75 สถานภาพของผู้ชมเรียงตามลำดับคือ นิสิตร้อยละ 64 ผู้สูงอายุร้อยละ 60 และเจ้าหน้าที่สถานพยาบาลร้อยละ 22
ในด้านความเหมาะสมของบทละคร ภาพรวมของละครทำให้ผู้ชมมีความสุขคือ 4.68 การแสดงลีลาประกอบมีความเหมาะสม
4.54 และ ผู้ชมได้รับความสนุกสนานและคล้อยตามมากที่สุด 4.51 เนื้อหาของละครมีความเหมาะสม 4.48 ภาพรวม
ของบทละครมีความเหมาะสมมากที่สุดคือ 4.44

ผู้สูงอายุมีความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมปัจจุบันไม่ต้องการถูกตัดขาดจากสังคม ในขณะเดียวกันยังมีภาพจำ
ความสุขในอดีตที่ทำให้รู้สึกว่ายังเคยมีตัวตนอยู่

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2561). สถานการณ์ผู้สูงอายุ 2559. [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1512367202-108_0.pdf สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2561.

ชัยพร ธรรมโยธิน. (2556). การเขียนบท. [ออนไลน์] แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/chaipon4256/khwamru-keiyw-kab-kar-kheiyn-bth-beuxng-tn สืบค้นเมื่อ 15 กรกฏาคม 2561.

ภาควิชาศิลปะการละคร. (2537). องค์ประกอบของละคร. เอกสารประกอบการสอน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร

ปรวัน แพทยานนท์. (2556, มกราคม-มิถุนายน). ตัวละครและสไตล์การแสดงในบริบทและวัฒนธรรมไทย : กรณีศึกษาภาพยนตร์ไทยที่ได้รับรางวัลแห่งชาติสุพรรณหงส์. ใน วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 14(1): 79.

วิพรรณ ประจวบเหมาะ. (2542) การส่งเสริมสุขภาพกับปีสากลว่าด้วยผู้สูงอายุปี 2542. (เอกสารประกอบการอภิปราย)กรุงเทพ:วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.

สดใส พันธุมโกมล. (2542). ศิลปะการแสดง (ละครสมัยใหม่) . พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .

ส่วนอนามัยผู้สูงอายุ สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). ความต้องการของผู้สูงอายุ. [ออนไลน]แหล่งที่มา : http://hp.anamai.moph.go.th/soongwai/statics/health/prepared/topic002.php สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2561.

สิริพร สุธัญญา. (2550). พฤติกรรมการดูแลตนเองกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุในสวนรมณีนาถ กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.

สุณิสา ศิริรักษ์. (2559). องค์ประกอบของศิลปะการแสดง. [ออนไลน์] แหล่งที่มา :skruart.skru.ac.th/2014/TH/donwload/12.pd สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2561.

สุภาวดี พุฒิหน่อย. (2561). ผู้สูงอายุและกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ. [ออนไลน์] แหล่งที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/551126 สืบค้นเมื่อ 15 กรกฏาคม 2561.

อำไพขนิษฐ์ สมานวงศ์ไทย. (2552). สังคมผู้สูงอายุ. [ออนไลน์]์ แหล่งที่มา : http://suwanna12.blogspot.com/2012/07/blog-post.html สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29