นัยการข่มขืนในละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ไทย: วิพากษ์ผลการศึกษา ด้วยวิธีวิทยาแบบโครงสร้าง THE IMPLICATIONS OF RAPES IN THAI TELEVISION DRAMA AND MOVIES: A CRITIC BY STRUCTURAL METHODOLOGY *
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ข้อเขียนทางวิชาการที่วิเคราะห์นัยการข่มขืนในละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ไทย ส่วนมากมีวิธีวิทยาที่ใช้เป็นกรอบในการศึกษาอิงอยู่กับหลักโครงสร้างนิยม คือทฤษฎีการเล่าเรื่อง การสร้างความหมาย และการสะท้อนภาพสังคม แม้จะมีความคมชัดในแง่การแจกแจง จัดลำดับข้อมูลของประเด็นการข่มขืนในการนำเสนอ แต่กรอบของการศึกษาดังกล่าว กลับทำให้ละเลยลักษณะนิสัยตัวละครที่นำไปสู่ปมขัดแย้งของการข่มขืนในเรื่อง ผลการศึกษาที่สังเคราะห์ได้จึงไม่อาจหยั่งถึงเหตุแห่งพฤติกรรมของผู้ข่มขืน และผลกระทบทางจิตใจของตัวละครหลังถูกข่มขืน อย่างไรก็ตาม ความหมายการข่มขืนที่ค้นพบด้วยวิธีทางโครงสร้างนิยมของบทความในขอบเขตการศึกษา มีนัยของความเป็นจริงตามที่สังคมสร้างขึ้น 4 ประการคือ 1) การข่มขืนคือรางวัล 2)การข่มขืนคือการลงโทษ 3)การข่มขืนแสดงภาพสังคมที่มีปัญหา 4)การข่มขืนเกี่ยวพันกับชนชั้นล่าง ส่วนโครงสร้างของความสัมพันธ์เชิงอำนาจในประเด็นการข่มขืน พบว่ามี 3 รูปแบบ คือ 1) พระเอกข่มขืนนางเอก 2) ผู้ร้ายข่มขืนนางอิจฉา หรือ“ผู้หญิงไม่ดี” 3) นางเอกที่ถูกข่มขืน ไล่ล่าผู้กระทำเพื่อแก้แค้น ทั้งนี้ในภาพรวมของการวิเคราะห์นัยการข่มขืน ประมวลได้ว่าข้อเขียนทางวิชาการในขอบเขตการศึกษา มองข้ามการทำความเข้าใจต่อแง่มุมต่อไปนี้ 1) เนื้อเรื่องของบทประพันธ์ 2) บริบททางสังคมในเรื่อง 3) อุดมการณ์แฝงที่อยู่ในเรื่อง
คำสำคัญ : นัยการข่มขืน ละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ไทย วิธีวิทยาแบบโครงสร้าง
Abstract
The academic analyses of rapes in Thai television drama and movies have mainly been based on structural principles: narratology, signification, and mirror conception. Although such analyses can present clear delineations and sequences of rapes, their stereotypical methods of decoding have resulted in the lack of examination of characters’ behavior that leads to conflicting rapes. According to structuralism, rapes have four socially constructed implications: rewards, punishments, reflections of troubled society, and involvement with lowly classes. As for power relation structure, there are three models: male protagonists’ rapes of female protagonists, male antagonists’ rapes of female antagonists or “bad girls”, and female protagonists’ pursuits of rapists for revenge. Specifically, these analyses overlook the following three dimensions: content of the text, social context, and implicit ideology.
Keywords: Thai television drama and movies, The Implications of Rapes, Structural Methodology
*บทวิเคราะห์นัยการข่มขืนที่ปรากฏในละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ไทย เป็นส่วนหนึ่งของการอภิปรายผลการศึกษาในงานวิจัย เรื่อง นัยการข่มขืนในนวนิยายไทย ขอขอบคุณกองทุนวิจัยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่ให้การสนับสนุนทุนดำเนินงานวิจัยDownloads
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ