โขน : ศิลปะประจำชาติไทยและสื่อวัฒนธรรมในบริบทสังคมร่วมสมัย KHON : THAI TRADITIONAL ARTS AND CULTURAL MEDIA IN CONTEMPORARY SOCIETY CONTEXT
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
โขนเป็นการแสดงอันเป็นนาฏกรรมชั้นสูงของไทย ประกอบด้วยศิลปะอันเป็นมรดกสำคัญของชาติหลากหลายแขนง ได้แก่ วรรณศิลป์ วิจิตรศิลป์ ดุริยางคศิลป์และนาฏศิลป์ จึงนับได้ว่าโขนเป็นศิลปะทางการแสดงที่มีคุณค่าและมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมหลากหลายรูปแบบของไทย แสดงถึงความเป็นประเทศที่มีอารยธรรมอันสูงส่ง สามารถอนุรักษ์และสืบทอดให้คงอยู่มาถึงปัจจุบัน โดยได้รับการอุปถัมภ์และเชิดชูจากสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งปรากฏเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนจากการแสดงโขนพระราชทานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ซึ่งแสดงเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 สืบมา นับจากอดีต โขน มีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมและวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงรูปแบบ ตลอดจนวิธีการแสดง และเรื่องที่ใช้แสดงคือเรื่องรามเกียรติ์อยู่เช่นเดิม ซึ่งรูปแบบของการแสดงโขนนั้น ได้มีการอนุรักษ์และพัฒนาอยู่อย่างสม่ำเสมอ เห็นได้จากการแสดงโขนจากเดิมที่ปรากฏเป็นหลักฐาน เช่น โขนกลางแปลง โขนโรงนอกหรือโขนนั่งราว โขนโรงใน โขนหน้าจอ และโขนฉาก เมื่อยุคสมัยและบริบททางสังคมมีความเปลี่ยนแปลง ได้ส่งผลต่อศิลปวัฒนธรรมมี 2 นัย คือ โขนถูกลดบทบาทและความสำคัญลง แต่ในขณะเดียวกันก็ส่งผลต่อการพัฒนารูปแบบการแสดง เช่น โขนศาลาเฉลิมกรุง โขนพระราชทาน (โขนเฉลิม พระเกียรติ) เป็นต้น ความแตกต่างเหล่านี้อาจเกิดขึ้นจากผู้สร้างหรือผู้ลงทุน อีกเหตุสำคัญคือคนส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแสดงโขนอย่างเพียงพอ ความงดงาม คุณค่า ความหมาย ความรู้สึก ที่การแสดงโขนต้องการสื่อจึงล่องลอยหายไปโดยผู้ชมจับต้องไม่ได้ เป็นเพียงศิลปะความบันเทิงแค่ชั่วคราว ภาครัฐจึงต้องคิดทบทวนและเร่งจัดเข้าสู่ระบบการศึกษา ซึ่งเป็นองค์กรที่จัดกระบวนการสืบทอดวัฒนธรรมของทุกชาติและ ทุกสังคม รวมถึงผลักดันและให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง ได้แก่ โขนในสถาบันการศึกษา เช่น โขนมหาวิทยาลัยรามคำแหง โขนธรรมศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้ศิลปะของการแสดงโขนคงอยู่อย่างมีคุณค่าในสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลงได้สืบไป
คำสำคัญ : โขน ศิลปะประจำชาติ สื่อวัฒนธรรม สังคมร่วมสมัย
Abstract
“Khon", The performance of the highest level of Dramatic Works of Thai culture, is composed of various parts of The Country’s Legacy in artistic works such as Art Created Language, Fine Arts, Arts of playing Music, Dancing and Acting Arts. Hence, it is the most valuable and the most influential to Thai’s Arts and Cultures. This also shows that Thailand has been a highly civilized country that could conserve this valuable Legacy and passed on it to many generations until today, under the royal patronage of The Thai Monarchy. The Clear result is the Royally conferred “Khon” performances by HM. the Queen Sirikit which has been performed every year since the year 2009. Although, “Khon” has been developed, re-arranged and changed due to the development of Thai Social and Culture consistently; it still keeps its main format and the way of its performance with the main story of the Legend of Ramayana story. The performing format of Khon has been conserved and developed regularly. According to records, Khon used to be performed as KhonKlangPlang, KhonRongNorg, KhonNungRarw, KhonRongNai, Khon Na Jor, and KhonCharg, Once age and social changes have affected the art and culture into 2 significations, Khon reduced its role and importance. At the same time this affects the development of display formats such as KhonSalaChalermkrung, the Royal conferred “Khon” (KhonChalermPrakiati). These differences may be the result of the performance creator or investor. Another important reason is that most of the people lack the knowledge and understanding about the beauty, value, meaning and sense of the show, which makes it difficult for the audience to realize the full meaning, then it becomes just temporary entertainment. The Government sector should rethink and push through the education system, as an organization in which organize each Nation and Social cultural inheritance. Also they should seriously push and give support for Khon in educational institutions such as KhonRamkhamhaeng, KhunThammasart. Thus, it will help to conserve and lead the “Khon” to keep its Value throughout this modern and varied Society.
Key words: Khon, Thai Traditional Arts, Cultural Media, Modern Society
Downloads
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ