กระบวนทัศน์เชิงสังคมด้านครอบครัวในวรรณกรรมของดอกไม้สด THE SOCIAL PARADIGM OF FAMILY IN THE LITERARY WORKS OF DOKMAISOD
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนทัศน์เชิงสังคมด้านครอบครัวตามแนวคิดของดอกไม้สด โดยวิเคราะห์จากบทบาทของตัวละครที่เป็นสมาชิกในครอบครัว 4 ลักษณะ ได้แก่ บทบาทของบุตรธิดาที่มีต่อบิดามารดา บทบาทของสามีที่มีต่อภรรยา บทบาทของภรรยาที่มีต่อสามี และบทบาทของบิดามารดาที่มีต่อบุตรธิดา ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของตัวละครที่เป็นสมาชิกในครอบครัวทั้ง 4 ลักษณะในวรรณกรรมของดอกไม้สดนั้นประพฤติปฏิบัติตนตามหลักพระพุทธศาสนา คือ ทิศ 6 ได้แก่ ทิศเบื้องหน้า และทิศเบื้องหลัง อันเป็นหลักธรรมที่กล่าวถึงสิ่งที่สมาชิกในครอบครัวพึงประพฤติปฏิบัติต่อกัน สะท้อนให้เห็นว่าครอบครัวไทยยึดหลักพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เพราะคนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจึงกลายเป็นกระบวนทัศน์หลักของสังคม ซึ่งเป็นที่ยอมรับของบุคคล ที่ใช้ในการคิด การประพฤติ การปฏิบัติตนร่วมกันของคนในสังคมไทย
คำสำคัญ: กระบวนทัศน์เชิงสังคม, วรรณกรรมของดอกไม้สด
Abstract
The aim of this article is to investigate the social paradigm of family in DOKMAISOD’s view by analyzing the roles of the characters that are 4 types of family members – the roles of children towards parents, husbands towards wives, wives towards husbands, and parents towards children. The research results showed that the characters who are family members of the 4 types in the literary works of DOKMAISOD conduct themselves in accordance with the notions in the Buddhist precept of the 6 directions, that is, those regarding the front and the back, which are about how family members should treat one another. This reflects how Thai families adhered to Buddhist principles …as guidelines for living because most Thai people are Buddhists, so the Lord Buddha’s teachings have formed the principal paradigms of Thai society, which are accepted and used in thinking, behaving, and living together in Thai society.
Keywords: Social paradigm, the literary works of DOKMAISOD
*ผู้รับทุนโครงการเครือข่ายเชิงกลยุทธ์เพื่อการผลิตและพัฒนาอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีพุทธศักราช 2551 ขอขอบพระคุณสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาเป็นอย่างสูงที่ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยครั้งนี้
Downloads
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ