นาฏศิลป์สร้างสรรค์จากเทคนิคกีฬาลีลาศ
คำสำคัญ:
นาฏศิลป์สร้างสรรค์, ลีลาศ, นาฏศิลป์, ศิลปะการแสดงบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “นาฏศิลป์สร้างสรรค์จากเทคนิคกีฬาลีลาศ” มีวัตถุประสงค์คือ 1.เพื่อศึกษารูปแบบและลักษณะการเคลื่อนไหวร่างกายในกีฬาลีลาศ 2. เพื่อออกแบบลีลาในงานาฏศิลป์โดยใช้รูปแบบการเคลื่อนไหวร่างกายในกีฬาลีลาศ เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเทคนิคกีฬาลีลาศจากการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยประเภทละตินอเมริกัน (Latin America) ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยครั้งที่ 43 และการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยครั้งที่ 44 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์จากเอกสารและตำรา สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับงานนาฏศิลป์ และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาวิเคราะห์ สร้างสรรค์การแสดง และสรุปผล ตามลำดับ
ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษารูปแบบและลักษณะการเคลื่อนไหวร่างกายในกีฬาลีลาศของแต่ละจังหวะประเภทละตินอเมริกัน อธิบายได้ดังนี้ 1.1 จังหวะประเภทละตินอเมริกันมีเอกลักษณ์ในการเคลื่อนไหวท่วงท่าและลีลาที่เฉพาะตัว 1.2 เทคนิคหรือรูปแบบการนำเสนอที่ทุกจังหวะใช้ร่วมกัน เช่น การหยุดนิ่งอยู่กับที่ในท่าทางต่าง ๆ ของชายและหญิงชั่วขณะหนึ่ง และการถ่ายเทน้ำหนักระหว่างชายกับหญิงซึ่งมีความคล้ายคลึงกับเทคนิคคอนแทค อิมโพรไวส์เซชั่น หรือแม้แต่การแสดงออกทางอารมณ์แต่ละจังหวะมีความชัดเจน เช่น จังหวะไจว์ฟ ที่สนุกสนาน สีหน้า ท่าทางสื่อถึงอารมณ์สนุกสนาน รื่นเริง ในขณะที่จังหวะพาโซ โดเบิล ให้ความรู้สึกดุดัน สีหน้า ท่าทางที่แสดงออกจะแข็งกร้าว และ2. การออกแบบลีลาในงานาฏศิลป์โดยใช้รูปแบบการเคลื่อนไหวร่างกายในกีฬาลีลาศ ผู้วิจัยวิเคราะห์ผ่านองค์ประกอบในการแสดง คือ 1. นักแสดง 2. การออกแบบลีลา 3. เพลงประกอบการแสดง และ 4. เครื่องแต่งกายที่ใช้ในการแสดง ในงานนาฏศิลป์สร้างสรรค์จากเทคนิคกีฬาลีลาศ ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ในต่อยอดการออกแบบลีลาทางด้านนาฏศิลป์ที่นำทักษะกีฬามาสร้างสรรค์ผลงานเพราะเทคนิคด้านกีฬามีเอกลักษณ์ตามกฎกติกาข้อบังคับที่มีแบบแผนและทุกกีฬามีเสน่ห์ในการนำเทคนิคกีฬานั้นมาสร้างสรรค์เป็นงานนาฏศิลป์ต่อไป
Downloads
References
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นราพงษ์ จรัสศรี. (22 ธันวาคม 2557). ศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชานาฏยศิลป์ตะวันตก ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สัมภาษณ์.
รังสฤษฏิ์ บุญชลอ. (2551). ประวัติและการลีลาศ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). ปทุมธานี: สกายบุ๊กส์ จำกัด.
Bollroomdance 14. (2014, March 18). ลักษณะท่าทางในจังหวะคิวบันรัมบ้า (Cuban Rumba). Retrieved from
https://www.instagram.com/p/9skOCiAJXV/
Samba. (2017, March 18). ลักษณะท่าทางในจังหวะแซมบ้า (Samba) Retrieved from https://s-media-cache-ak0.
pinimg.com/original/3f/5e/d2/3f5ed724108e578987b99fc5d8f093.jpg.
Wikidancesport. (2017, March 18). ลักษณะท่าทางในจังหวะพาโซ โดเบิล (Paso Deble) Retrieved from
https://www.wikidancesport.com/wiki/42/paso-doble.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ