สุนทรียภาพในอรรถกถาเตมิยชาดก

ผู้แต่ง

  • สุภัค มหาวรากร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

สุนทรียภาพ อรรถกถาเตมิยชาดก พระโพธิสัตว์

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความงามในอรรถกถาเตมิยชาดก  ผลการศึกษาวิจัยพบว่าอรรถกถาเตมิยชาดกเป็นวรรณคดีพุทธศาสนาเรื่องสำคัญ มีความไพเราะงดงามในฐานะเป็นวรรณคดี  ดังนั้นจึงมีกลวิธีทางวรรณศิลป์ในการประพันธ์ที่เชื่อมร้อยองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการไว้ด้วยกันอย่างมีเอกภาพ  ได้แก่  ภาษา  ตัวละครพระโพธิสัตว์  และฉากสำคัญ  ด้านสุนทรียภาพในภาษา  ได้แก่ การสรรคำและการใช้ภาพพจน์   ด้านสุนทรียภาพในการสร้างตัวละครพระเตมิยโพธิสัตว์ ได้แก่  การมีปัญญาตระหนักรู้ภัยกิเลส  และการมีจิตมุ่งมั่นที่จะหลุดพ้นจากกิเลส  ด้านสุนทรียภาพในการสร้างฉากสำคัญ  ได้แก่ ฉากนรกและฉากยกรถ  ซึ่งทำให้เห็นภาพความงดงาม เกิดจินตภาพและสื่อสาระธรรมทางพุทธศาสนา  เป็นเหตุการณ์ที่โดดเด่นและทำให้ผู้อ่านจำอรรถกถาเตมิยชาดกได้

          สุนทรียภาพทั้ง 3 ประการนี้เชื่อมร้อยกันอย่างมีเอกภาพ  นำไปสู่ความเข้าใจ พิจารณาเหตุและผล  ตระหนักถึงสาระธรรมในอรรถกถาเตมิยชาดก   ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการสร้างปัญญาแก่ผู้อ่าน 

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

ธเนศ เวศร์ภาดา. (2549). หอมโลกวรรณศิลป์ การสร้างรสสุนทรีย์แห่งวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: ปาเจรา.
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์. (2548). วิทยาวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิมพ์ดี.
พระพรหมคุณาภรณ์ [ป.อ. ปยุตฺโต]. (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ [ชำระ – เพิ่มเติม
ช่วงที่ 1]. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2543). อรรถกถาเตมิยชาดก. พระสูตรและอรรถกถา แปล ขุททกนิกายชาดก
เล่มที่ 4 ภาคที่ 3 . พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2544). พจนานุกรมวรรณคดีไทย สมัยสุโขทัย ไตรภูมิกถา. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก. (2552). ธรรมาภิธาน พจนานุกรม
คำสอนพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2543). ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท. พิมพ์ครั้งที่ 4.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สุภัค มหาวรากร. (2555, กรกฎาคม-ธันวาคม). บทบาทพระจันทร์ในอรรถกถาชาดก. ใน วารสารสถาบัน
วัฒนธรรมและศิลปะ. 14 (1) : 118-131.
Stith Thompson. (1958). Motif – Index of Folk literature volume three F-H. Bloominton, Indiana :
Indiana University Press.
Stith Thompson. (1958). Motif – Index of Folk literature volume six. Bloominton, Indiana : Indiana
University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-21