การศึกษารวบรวมบทเพลงรำวงโบราณในหมู่บ้านตะปอนใหญ่ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
คำสำคัญ:
บทเพลงรำวงโบราณ หมู่บ้านตะปอนใหญ่ จันทบุรีบทคัดย่อ
บทเพลงรำวงโบราณเป็นศิลปวัฒนธรรมไทยอย่างหนึ่งในด้านของบทร้องประกอบท่ารำ ช่วยสร้าง ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ผ่อนคลายความตึงเครียดจากปัญหาในชีวิตประจำวัน ซึ่งบทเพลงรำวงโบราณ ที่ทำการศึกษาในงานวิจัยชิ้นนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่นำมาจากบทสัมภาษณ์ของนายกาญจน์ กรณีย์ จากบทเพลงทั้งหมดประมาณ 30 บทเพลง แต่มีที่นิยมร้องในวงประมาณ 10 บทเพลง ซึ่งเมื่อวิเคราะห์บทเพลงรำวงโบราณ ทั้ง 10 บทเพลง พบว่าเป็นบทเพลงทำนองเดียว (Monophonic Texture) ใช้อัตราจังหวะธรรมดา (Simple Time) 2/4 Duple Time โดยมีรูปแบบลักษณะอัตราจังหวะทั้งหมด 25 รูปแบบ มีช่วงเสียงใน 2 ลักษณะ คือ ช่วงเสียงขั้นคู่เสียงธรรมดา และช่วงเสียงขั้นคู่เสียงผสม โดยมีโน้ตในระดับเสียงต่ำสุดที่โน้ตตัว G ใต้เส้นน้อยเส้นที่สองของบรรทัดห้าเส้น ในบทเพลงนกเขาไฟกับบทเพลงยามเย็น และพบโน้ตในระดับสูงสุดที่โน้ตตัว A เหนือบรรทัด ห้าเส้น คาบเส้นน้อยเส้นที่หนึ่งในบทเพลงรุ้งกินน้ำ นอกจากนี้ยังพบว่าบทเพลงทั้งหมดมีการใช้โน้ตเพียง 5 – 7 ตัวโน้ต โดยสามารถแบ่งบทเพลงตามการวิเคราะห์บันไดเสียงออกเป็น 3 กลุ่มเพลง คือ กลุ่มที่ใช้บันไดเสียง 5 เสียง (เพลงไหว้ครู เพลงปักษาจะบิน เพลงยามเย็น และเพลงกระต่ายเจ้าขา) กลุ่มที่ใช้บันไดเสียง 6 เสียง (เพลงเร็วเข้าสิ เพลงรำวงกันก่อนนะเธอ บทเพลงเจ้านกเขา เพลงนกเขาไฟ และเพลงกาเหว่า) และกลุ่มที่ใช้ บันไดเสียง 7 เสียง (เพลงรุ้งกินน้ำ)
Downloads
References
บัวผัน สุพรรณยศ และคณะ. (2557). รายงานการวิจัยเพื่อรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทาง
วัฒนธรรม: เพลงพื้นบ้านภาคกลาง. โครงการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.
ภิญโญ ภู่เทศ. (2547). การศึกษาทำนองเพลงรำวงโบราณของตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์. ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
เลอพงศ์ กัณหา. (2554). เพลงพื้นบ้าน : กรณีศึกษาเพลงรำวงพื้นบ้านดอนคา ตำบลดอนคา อำเภอ ท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์. ปริญญานิพนธ์. ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา มานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
วุฒิชัย อุตส่าห์ และคณะ. (2554). อ้างถึงใน นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล วิชุดา กิจธรธรรม ฐาศุกร์ จันประเสริฐ และนรสิรา พึ่งโพธิ์สภ. (2557). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรม ตามค่านิยมและวัฒนธรรมไทยอย่างยั่งยืน ด้วยการสังเคราะห์งานวิจัย. รายงานวิจัยสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศรัณย์ นักรบ. (2557). ดนตรีชาติพันธุ์วิทยา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศศิธร สมัยกุล. (2547). เพลงรำโทน : กรณีศึกษาจังหวัดลพบุรี. ปริญญานิพนธ์ ศป.ม. (มานุษยดุริยางควิทยา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
สุชาติ แสงทอง. (2549). การวิเคราะห์องค์ประกอบทางดนตรีเพลงรำโทน. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สุชาติ แสงทอง และคณะ. (2553). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวิชาดนตรี. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. ถ่ายเอกสาร.
สุนันทา มิตรงาม. (2558, กรกฎาคม-ธันวาคม). ทิศทางนโยบายการบริหารจัดการดนตรีและการแสดงของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. ปีที่ 17(1): 109.
Frans Wiering et al. (2009). Modelling Folksong Melodies. Interdisciplinary Science Reviews. Vol. 34(2–3): 157–158.
Thipsuda Imjai et al. (2013, September). Conservation and Development of Central Thai Folk Music for Cultural Inheritance. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences. Vol. 3(9): 687.
William Duckworth. (1998). A Creative Approach to Music Fundamentals. 6th Ed. Washington: Wadsworth Publishing Company.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ