การพัฒนาทักษะการปฏิบัติไวโอลินสำหรับนิสิตวิชาโทดนตรีสากล ของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คำสำคัญ:
การปฏิบัติไวโอลิน วิชาโทดนตรีสากล คอมพิวเตอร์ช่วยสอนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตวิชาโทดนตรีสากล ที่เลือกเรียนทักษะการปฏิบัติไวโอลินกับสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยสอนด้วยวิธีการสอนแบบปกติ และสอนด้วยวิธีการใช้คอมพิวเตอร์บรรเลงประกอบ ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 36 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติต่างๆ
ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตวิชาโทดนตรีสากล ในวิชา MUS111 Individual Classical Music Skill I เรื่องทักษะการบรรเลงไวโอลินสาย 1 และสาย 2 ในบันไดเสียง A Major ใน 5 เพลง ที่สอนด้วยวิธีการสอนแบบปกติ และสอนด้วยวิธีการใช้คอมพิวเตอร์บรรเลงประกอบ โดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนวัดทักษะการบรรเลงไวโอลินใน 5 หัวข้อ มีความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกหัวข้อ โดยในการทดสอบก่อนเรียนพบว่า ทักษะการปฏิบัติไวโอลินที่นิสิตทำคะแนนได้มากที่สุดคือ ความสามารถในการจำบทเพลง และหัวข้อที่นิสิตทำคะแนนได้น้อยที่สุดคือ ความเป็นท่วงทำนองดนตรี สำหรับการทดสอบหลังเรียนพบว่า หัวข้อที่มีส่วนต่างของคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนมากที่สุดคือ ความเที่ยงตรงของระดับเสียง และหัวข้อที่มีส่วนต่างของคะแนนน้อยที่สุดคือ ความเป็นนักดนตรีที่ดี ซึ่งทั้ง 5 หัวข้อที่ทดสอบ นิสิตกลุ่มที่สอนด้วยวิธีการใช้คอมพิวเตอร์บรรเลงประกอบ ทำคะแนนสูงกว่านิสิตกลุ่มที่สอนด้วยวิธีการสอนแบบปกติ โดยมีระดับคะแนนที่ทดสอบหลังเรียนแตกต่างกัน ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
Downloads
References
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (มปป.). มคอ.2 หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิขาดุริยางค ศาสตร์สากล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2558). คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Gagne, R. M. (1977). The Conditions of Learning. New York: Holt Rinehart and Winston.
Harper, R. N. (1975). An Introduction to Psychology. New York: Holt Rinehart and Winston.
Klausmeier and Rippe. (1971). Learning and Human Abilities. New York: Harper International Edition.
P21 Partnership for 21st Century Learning. (2002). P21 Framework for 21st Century Learning.
Retrieved January 5, 2015, from http://www.p21.org.
Suzuki, Shinichi. (1978). Suzuki Violin School Volume I. USA: Summy-Birchard Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ