การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากแนวคิดการแบ่งภาคของพระนารายณ์
คำสำคัญ:
พระนารายณ์, การแบ่งภาค, การออกแบบนาฏยศิลป์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบและแนวคิดการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์จากแนวคิดการแบ่งภาคของพระนารายณ์ โดยศึกษาประวัติพระนารายณ์ แนวคิดการแบ่งภาคพระนารายณ์ วรรณกรรมเรื่องลิลิตนารายณ์สิบปาง บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และความเชื่อที่มีต่อพระนารายณ์ เพื่อเป็นพื้นฐานประกอบการสร้างสรรค์งานทางด้านนาฏยศิลป์ โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยเชิงสร้างสรรค์และการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการแสดงมี 8 ประการ คือ 1) บทการแสดง 2) นักแสดง 3) ลีลา 4) เสียง 5) อุปกรณ์การแสดง 6) เครื่องแต่งกาย 7) พื้นที่ 8) แสง แนวคิดการแสดงมี 6 ประการ คือ 1) แนวคิดการแบ่งภาคของพระนารายณ์ 2) แนวคิดการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์บนพื้นฐานของวรรณกรรมลิลิตนารายณ์สิบปาง 3) แนวคิดการใช้สัญลักษณ์ในการแสดงนาฏยศิลป์ 4) แนวความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงนาฏยศิลป์ 5) แนวคิดการใช้ทฤษฎีทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ 6) แนวคิดความหลากหลายทางวัฒนธรรม
การจัดการแสดงผลงานสร้างสรรค์ทางด้านนาฏยศิลป์ จำนวน 2 วัน โดยมีผู้เข้าชมงานจำนวน 323 คน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านนาฏยศิลป์ อาจารย์ นิสิต นักเรียนและบุคคลทั่วไป สรุปผลการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากแนวคิดการแบ่งภาคของพระนารายณ์ มีการประเมินผลในระดับดี การแสดงมีความสร้างสรรค์แปลกใหม่ แนวคิดและองค์ประกอบการแสดงมีความสอดคล้องกัน
การวิจัยครั้งนี้เป็นการรวบรวมองค์ความรู้เพื่อพัฒนาผลงานด้านนาฏยศิลป์ร่วมกับการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับศาสตร์แขนงอื่น ๆ เพื่อใช้เป็นสื่อทางความคิดเกี่ยวกับวรรณกรรมลิลิตนารายณ์สิบปาง อีกทั้งเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานทางนาฏยศิลป์ต่อไป
Downloads
References
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
สัมภาษณ์วันที่ 10 กันยายน 2558.
Kamalalak Nuamsamlee. Instructor of the Performing and Musical Arts Department, the Faculty of Humanities
and Social Sciences, Phetchaburi Rajabhat University. Interview, 10 September 2015.
จุลชาติ อรัณยะนาค. (2557,มกราคม – มิถุนายน 2557). บทความเรื่องเอกลักษณ์ไทยในงานนาฏยศิลป์ ไทยร่วมสมัย
“นารายณ์อวตาร” พ.ศ. 2546. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. ปีที่ 15 (ฉบับที่ 2): 85.
Chulachat Aranyanak. (2014. January – June 2014). Thai Identity in Contemporary Thai Dance “Narai Avatara
2003” by Narapong Charassri. Institute of Culture and Arts Journal. Vol. 15 (No. 1): 72.
เฉลิมทศพล เจริญสุข. (2555). กำเนิดเทวะ ตำนานมหาเทพแห่งสรวงสวรรค์. สำนักพิมพ์
เพชรกะรัต.
Chalermthossapon Charoensuk. (2012). The Birth of Gods: the Legend of the Highest Gods of Heaven.
Petchkarat Press.
ธรากร จันทนะสาโร. อาจารย์ ประจำวิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สัมภาษณ์วันที่ 18 กันยายน 2558.
Dharakorn Chandnasaro. Instructor of Thai Dance Department, the Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot
University. Interview, 18 September 2015.
นราพงษ์ จรัสศรี. (2548). ประวัตินาฏยศิลป์ตะวันตก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Naraphong Charassri. (2005). History of Western Dance. Bangkok : Chulalongkorn University Press.
นราพงษ์ จรัสศรี.ศาสตราจารย์ ประจำภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สัมภาษณ์วันที่ 10 พฤษภาคม 2558. 1 กันยายน 2558.
Naraphong Charassri. Professor of Dance Department, the Faculty of Fine and Applied Arts,
Chulalongkorn University. Interview, 10 May 2015. 1 September 2015.
พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ. (2545). เครื่องแต่งกายเพื่อการแสดง.ในการแสดงและการออกแบบ.
กรุงเทพฯ: ไอเดียสแควร์
Paruet Suphasetsiri. (2002). Costumes for Performance on the Stage and the Design. Bangkok : Idea
Square.
วันทนีย์ ม่วงบุญ. (2557). บทบาทพระนารายณ์ในการแสดงนารายณ์สิบปาง. นิตยสารศิลปากร.
ฉบับที่ 1.
Wanthanee Muangbun. (2014). The Role of Narayana in Narayana Sib Pang Performance. Silpakorn
Journal. No. 1.
สมพร ฟูราจ. (2554). Mime ศิลปะท่าทางและการเคลื่อนไหว. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Somporn Furaj. (2011). Mime: The Art of Gesture and Movement. Thammasat University Press.
อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. (2555). ทิพยนิยายจากปราสาทหิน. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.
Arunsak Kingmanee. (2012). Tales of Angels from the Stone Castles. Bangkok : Mueng Boran.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ