ดุษฎีบัณฑิตการแสดงดนตรีสร้างสรรค์: เทคนิคและรูปลักษณ์การร้องเพลง สำหรับนักร้องเสียงบาริโทนชาวไทย
คำสำคัญ:
ดนตรีสร้างสรรค์, เสียงบาริโทน, ชาวไทยบทคัดย่อ
ดุษฎีบัณฑิตการแสดงดนตรีสร้างสรรค์: เทคนิคและรูปลักษณ์การร้องเพลงสำหรับนักร้องเสียงบาริโทนชาวไทยนั้น เป็นการแสดงดนตรีสร้างสรรค์ที่จัดขึ้น โดยผู้แสดงได้รับแรงบันดาลใจจากความสนใจของผู้เรียนร้องเพลงในปัจจุบัน โดยผู้แสดงได้ศึกษาค้นคว้าเทคนิคการร้องเพลงของ สำนักการขับร้องชาตินิยมต่าง ๆ คือ อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส และอิตาเลียน และนำข้อดีที่ได้ มาผสานกับการร้องของคนไทยทำให้เกิดวิธีการร้องเพลงใหม่ที่มีวิธีการเปล่งเสียง และน้ำเสียงเป็นแบบเฉพาะตัวของผู้แสดงเอง
กลไกหลักทางด้านเทคนิคและรูปลักษณ์การร้องเพลงสำหรับนักร้องเสียงบาริโทนชาวไทยนั้น ผู้แสดงได้มุ่งเน้นที่การทำงานของอวัยวะของร่างกายซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดเสียงด้วยกัน ๔ ส่วน คือ (๑) ส่วนที่ทำหน้าที่ให้พลังงานกล (๒) ส่วนที่ทำหน้าที่สั่นสะเทือน (๓) ส่วนที่ทำให้เกิดการก้องกังวาน (๔) ส่วนที่ทำให้เกิดการเกลาเสียง เพื่อสร้างสรรค์เทคนิคเสียงร้องที่เป็นนามธรรมให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยผู้เขียนได้วางตำแหน่งเสียงในที่ต่าง ๆ ให้เกิดเป็นมิติของเสียงดั่งต้องการ และถ่ายทอดผ่านการแสดงขับร้อง ๓ การแสดงคือ (๑) Crucifixion (๒) Doctoral Voice Recital (๓) The 3rd Chula International New Music Festival and Conference 2013
Downloads
References
Amanda Holden. (2001).The New Penguin Opera Guide. London: Penguin Group.
Clifton Ware. (1997). Basic of Vocal Pedagogy: the Foundations and Process of Singing. USA: The
McGraw-Hill Companies.
Fred Plotkin. (1994).Opera 101 a Complete Guide to Learning and Loving Opera. New York:
Hyperion Publictions.
Richard Millers. (1997). National Schools of Singing: English, French, German, and Italian Techniques of
Singing Revisited. USA: Scarecrow Press Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ