การศึกษาดนตรีประกอบพิธีกรรม: กรณีศึกษาวงโกงสโกและวงทัมมิง คณะครูอม มงกุล จังหวัดเสียมเรียบ ราชอาณาจักรกัมพูชา

ผู้แต่ง

  • เมธี พันธุ์วราทร สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

วงโกงสโก, วงทัมมิง, ดนตรีประกอบพิธีกรรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “การศึกษาดนตรีประกอบพิธีกรรมในงาน : กรณีศึกษา วงโกงสโกและวงทัมมิง คณะครูอม มงกุล จังหวัดเสียมเรียบ ราชอาณาจักรกัมพูชา” การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมุ่งศึกษาข้อมูลจากการเก็บข้อมูลภาคสนาม ซึ่งจะกระทำในรูปแบบการพรรณนาวิเคราะห์ และจัดเก็บข้อมูลในรูปของเอกสาร โน้ตเพลง และข้อมูลภาพนิ่ง ข้อมูลเสียง ข้อมูลภาพเคลื่อนไหวในระบบดิจิตอล โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ

  1. เพื่อศึกษาดนตรีประกอบพิธีกรรม วงโกงสโกและวงทัมมิง คณะครูอม มงกุล จังหวัดเสียมเรียบ ราชอาณาจักรกัมพูชา
  2. เพื่อศึกษาบทบาทวงโกงสโกและวงทัมมิง คณะครูอม มงกุล ที่มีต่อสังคม

            จากการศึกษาพบว่า วงโกงสะกอ (Kong Skor) และวงทัมมิง (Tamming) สันนิษฐานว่าเป็นวงดนตรีได้รับอิทธิพลมาจากวงดนตรีที่ใช้บรรเลงเมื่อสมัยอาณาจักรเขมรโบราณ ราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 ตามหลักฐานที่ปรากฏบนภาพจำหลักบนระเบียงคดปราสาทนครวัดที่ปรากฏรูปจำหลักที่เกี่ยวข้องกับดนตรีอยู่บริเวณระเบียงคดด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ปรากฏภาพจำหลักวงดนตรีที่มีการบรรเลงฆ้องรางจำนวน 4 แห่ง ซึ่งมีความละม้ายคล้ายคลึงกับฆ้องรางที่ใช้ในวงโกงสโก (Kong Skor) และวงทัมมิง (Tamming) ปัจจุบันวงโกงสโก (Kong Skor) วงทัมมิง (Tamming) ใช้บรรเลงในงานศพเท่านั้น และสามารถพบเห็นการบรรเลงวงดนตรีนี้ในเขตจังหวัดเสียมเรียบ สำหรับคณะครูอม มงกุล จะเรียกชื่อวงดนตรีที่บรรเลงในเวลากลางวันว่า “โกงสโก” (Kong Skor) และวงดนตรีที่บรรเลงในเวลากลางคืนว่า “ทัมมิง” (Tamming)

            วงโกงสโกและวงทัมมิง คณะครูอม มงกุล ก่อตั้ง ในปี ค.ศ.1996 โดยการรวบรวมกลุ่มนักดนตรีเพื่อฟื้นฟูและทำกิจกรรมทางด้านดนตรีดั้งเดิมของกัมพูชา วงพิณเพียด (Pin peat) และวงโกงสโก (Kong Skor) และ   วงทัมมิง (Tamming) ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากครูนอร์น (Khru Norn) โดยการบรรเลงวงดนตรีโกงสโกและ    วงทัมมิงประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีจำนวน 4 ชนิด มีรูปแบบการจัดวงโดยให้นักดนตรีทั้ง 3 คนนั่งอยู่กลางวงดนตรี  หันหลังให้กันและกัน เครื่องดนตรีประกอบไปด้วย 1. โกง เดาะ ปี 2. โกง วง จ็อมเนต แข 3. สโก ธม มวย และ 4. ซรอไล โดยบทเพลงสำหรับการบรรเลงวงโกงสโกและวงทัมมิง มีจำนวน 12 บทเพลง สำหรับขั้นตอนการบรรเลง เริ่มต้นจากการแสดงความเคารพกราบไหว้ครูบาอาจารย์ทั้งที่เป็นครูเทวดาและครูมนุษย์รวมถึงถึงกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชา แล้วจึงเริ่มต้นการบรรเลงวงโกงสโก วงทัมมิง ด้วยบทเพลง“บอปวล”      เป็นบทเพลงลำดับแรกทุกครั้ง โดยการบรรเลงจะเริ่มต้นตั้งแต่เริ่มตั้งศพเพื่อประกอบพิธีกรรม โดยบรรเลงเพลงใดเพลงหนึ่งสลับกับพิธีสงฆ์ และเมื่อเสร็จสิ้นพิธี นักดนตรีจะบรรเลงบทเพลงเพลง  “ก็อมเปา” เป็นบทเพลงลา

            ในด้านบทบาทวงโกงสโกและวงทัมมิง คณะครูอม มงกุล  มีต่อสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดเสียมเรียบ ราชอาณาจักรกัมพูชา สรุปได้ดังต่อไปนี้

            1.วงโกงสโกและวงทัมมิง คณะครูอม มงกุล มีความสำคัญต่อชุมชนเนื่องจาก ชุมชนยังเห็นคุณค่าและความสำคัญของดนตรีที่มีต่อพิธีกรรม

            2.วงโกงสโกและวงทัมมิง คณะครูอม มงกุล สร้างรายได้ให้แก่นักดนตรี ให้มีรายได้พิเศษนอกเหนือจากการประกอบอาชีพหลัก

            3.วงโกงสโกและวงทัมมิง คณะครูอม มงกุล ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์วัฒนธรรมด้านดนตรีเขมรโบราณให้คงอยู่สืบทอดต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

กาญจนา อินทรสุนานนท์. (2536). เพลงพื้นบ้าน. สารานุกรมศึกษาศาสตร์ ฉบับที่ 12 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
....... (2543). พื้นฐานมานุษยวิทยาภาควัฒนธรรม. เอกสารประกอบคำสอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ. อัดสำเนา.
กฤษณา แสงทอง. (2540). เพลงปฏิพากย์ : วัฒนธรรมดนตรีและภาพสะท้อนสังคมของตำบลเขาทอง อำเภอ
พยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์. ปริญญานิพนธ์ ศป.ม.(มานุษยดุริยางควิทยา) กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. อัดสำเนา.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2543). ถกเขมร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า.
จุมพล หนิมพานิช. (2532). สังคมและวัฒนธรรม ในเอกสารประกอบการสอนชุดวิชามนุษย์กับสังคมหน่วยที่
1-15. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และพรพิไล เลิศวิชา. (2539). วัฒนธรรมหมู่บ้านไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อฑิตา (ประเทศไทย
จำกัด).
เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2538). วิธีการศึกษาดนตรีพื้นบ้าน. ดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 26 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เชียงใหม่ : โรงพิมพ์อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
ชัยยุทธ สมประดี. (2546). ศึกษาพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องวิญญาณของชาวบ้าน ตำบลคู่เต่า อำเภอ
หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ดวงรัตน์ ทรัพย์ประดิษฐ์. (2544). พิธีรำเจ้าพ่อของชาวมอญ : กรณีศึกษาดนตรีและพิธีรำเจ้าพ่อของชาวมอญ.
ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (มานุษยดุริยางควิทยา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). วัฒนธรรมไทย สู่ยุคเป็นผู้นำและผู้ให้. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
ธีรพล สยามพันธ์. (2538). ความเชื่อและพิธีกรรมในการทำนาของชาวตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมือง
จังหวัดพัทลุง. ปริญญานิพนธ์ (ศศ.ม.) ไทยคดีศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้.
ปราณี วงษ์เทศ. (2530). การละเล่นพิธีกรรมในสังคมไทย ในวัฒนธรรมพื้นบ้าน : คติความเชื่อ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
....... (2556). เมืองพระนคร นครวัด นครธม. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์.
พรรณราย คำโสภา. (2542). การวิเคราะห์เพลงพื้นบ้านกันตรึมของหมู่บ้านดงมันจังหวัดสุรินทร์. ปริญญานิพนธ์
ศป.ม. (มานุษยดุริยางควิทยา) กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. อัดสำเนา.
พิทยวัฒน์ พันธะศรี. (2554). มโหรี ความอยู่รอดและการเปลี่ยนแปลงของมโหรีในสังคมเขมร. มหาสารคาม :
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ภควัต คงพินิจ. (2544). เพลงการ์ของชาวเขมร กรณีศึกษาตำบลโอสะเม็ด อำเภอสำโรง จังหวัดอุดรมีชัย
ประเทศกัมพูชา. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม.(ดนตรีชาติพันธุ์วิทยา) กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์.
เมธี พันธุ์วราทร. (2559). การศึกษาดนตรีประกอบพิธีกรรม: กรณีศึกษา วงโกงสโกและวงทัมมิง คณะครูอม
มงกุล จังหวัดเสียมเรียบ ราชอาณาจักรกัมพูชา. กรุงเทพฯ : คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
ยศ สันตสมบัติ. (2533). มนุษย์กับวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
เรวดี อึ้งโพธิ์. (2558). วัฒนธรรมดนตรีชาวอูรักลาโว้ยในหมู่เกาะบุโหลน จังหวัดสตูล. วารสารวัฒนธรรมและ ศิลปะ. ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (33) กรกฎาคม – ธันวาคม 2558. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิเชียร รักการ. (2529). วัฒนธรรมและพฤติกรรมของไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2535). “การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ท่ามกลางกระแสการ เปลี่ยนแปลง” ในรายการสัมมนาทางวิชาการ เรื่องการพัฒนาทางวัฒนธรรม : กรณีทักษิณ. กรุงเทพฯ : สำนักวัฒนธรรมแห่งชาติ.
สายสุนีย์ ขาวปลื้ม. (2544). เพลงรำผีมอญของชาวมอญ จังหวัดปทุมธานี. ปริญญานิพนธ์
ศศ.ม. (มานุษยดุริยางควิทยา) กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุพัตรา สุภาพ. (2535). สังคมและวัฒนธรรมไทย ค่านิยม ครอบครัว ศาสนา ประเพณี. กรุงเทพฯ :
ไทยวัฒนาพานิช.
สุรพล สุวรรณ. (2549). ดนตรีไทยในวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เสนีย์ เกษมวัฒนากุล. (2539). แอบชมลายขอม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด
(มหาชน).
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2535). เอกสารประกอบการสัมนาเรื่องการศึกษาสังคมและ
วัฒนธรรมในท้องถิ่นภาคกลาง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Catherine Grant. (2014). Learning and Teaching Traditional Music in Cambodia: Challenges and
Incentives. University of Newcastle.
Chheng Phon, Sam Sam Ang, Keo Narom, Chen Neak, Nqoun Sam Ath, Vang Chan, et.al. (2003)
Khmer Performing Arts.
Michael Freeman and Claude Jacques. (2006). Ancient Angkor. Bangkok: Amarin Printing and
Publishing (Public) Co.Ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-21