การศึกษาวัฒนธรรมทางดนตรีบทเพลงรำสวดโบราณ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • phisut kanboon DEPARTMENT OF MUSIC, FACULTY OF THE HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCE, RAMBHAI BARNI RAJABHAT UNIVERSITY
  • ชวัลรัตน์ สมนึก สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

คำสำคัญ:

รำสวดโบราณ, อำเภอขลุง, จันทบุรี

บทคัดย่อ

            การศึกษาวัฒนธรรมทางดนตรีบทเพลงรำสวดโบราณ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ใช้การลงพื้นที่สัมภาษณ์ประวัติความเป็นมาของคณะรำสวดวิชัยราชันย์ และรวบรวมบทร้องรำสวดโบราณมาวิเคราะห์องค์ประกอบทางดนตรี จำนวน 10 เพลง โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาประวัติ และบทร้องรำสวดโบราณ และ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบทางดนตรีรำสวดโบราณ ซึ่งคณะรำสวดวิชัยราชันย์เป็นคณะที่ได้รับความนิยมจากประชาชนในพื้นที่มากที่สุด ก่อตั้งโดยนายวิชัย เวชโอสถ ซึ่งรับงานแสดงรำสวดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 โดยมีบทร้องจากการนำเนื้อเรื่องในวรรณคดีต่าง ๆ มาใส่ทำนองที่ได้รับการถ่ายทอดมาตั้งแต่โบราณมา ส่วนการวิเคราะห์องค์ประกอบทางดนตรีรำสวดโบราณจำนวน 10 บทเพลง พบว่า ทุกบทเพลงมีลักษณะเป็นทำนองเดียว (Monophonic Texture) โดยมีลักษณะการแสดงร้องโต้ตอบกันระหว่างนักร้องกับลูกคู่ ส่วนมากจะมีการร้องขึ้นต้นเพลงในรูปแบบอนาครูซิส 5 รูปแบบ ซึ่งบทเพลงส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มเสียงตัวโน้ต 5 เสียงของบันไดเสียงเพนตาโทนิค (Pentatonic Scale) ส่วนทำนองมีช่วงเสียงกว้างที่สุดในระยะขั้นคู่ P11th ซึ่งมีการเคลื่อนที่ในทิศทางคงที่ และทิศทางขึ้นแล้วลงจบที่โน้ตโทนิค (Tonic) ทุกบทเพลง สำหรับรูปแบบของบทเพลงอยู่ในรูปแบบรอนโด (Rondo Form) และรูปแบบธีมและแวริเอชั่น (Theme and Variations)  

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2559). วัฒนธรรม วิถีชีวิตและภูมิปัญญา. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์
(1977) จำกัด.กระทรวงวัฒนธรรม.
กฤษณา แสงทอง. (2540). วัฒนธรรมการดนตรี และภาพสะท้อนทางสังคมของชาวตำบลเขาทอง
อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2554). สังคีตนิยมความซาบซึ้งในดนตรีตะวันตก. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2555). ดนตรีศึกษา : หลักการและสาระสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: บริษัทแอคทีฟ
พริ้นท์.
ศรัณย์ นักรบ. (2557). ดนตรีชาติพันธุ์วิทยา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศิราพร ฐิตะฐาน ณ ถลาง. (2537). ในท้องถิ่นมีนิทานและการละเล่น: การศึกษาคติชนวิทยาในปริบททาง
สังคม. ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ. กรุงเทพฯ: มติชน
เสถียร โกเศศ. (อนุมานราชธน, พระยา). (2516). วัฒนธรรมและประเพณีต่าง ๆ ของไทย. กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์คลังวิทยา.
สุชาติ แสงทอง. (2543). การวิเคราะห์องค์ประกอบทางดนตรีเพลงปฏิพากย์. สถาบันราชภัฏนครสวรรค์.
สุเทพ วิสิทธิเขต. (2553). การศึกษาอัตลักษณ์การแสดงเพลงขอทานของครูประทีป สุขโสภา. อ้างจาก สุคนธ์
แสนหมื่น. (2549). การศึกษาเพลงปรบไก่ดอนข่อย จังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
อาทิตย์ โพธิ์ศรีทอง. (2560, กรกฎาคม - ธันวาคม). กาเมลัน : วงดนตรีประจำชาติของอินโดนีเซีย. วารสาร
สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 19 (37): 26-35.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28