ผลของการใช้กิจกรรมละครสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางความเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้แต่ง

  • ณิชชา - อุทัยวัฒนะ -
  • กุสุมา เทพรักษ์ สาขาศิลปะการแสดง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ละครสร้างสรรค์, หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

           การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดกิจกรรมละครสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางความเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางความเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก่อนและหลังโดยผ่านกิจกรรมละครสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนโยธินบูรณะ เขตบางซื่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 39 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 6 สัปดาห์ๆ ละ 2 วันๆ 60 นาที รวมเป็น 12 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมละครสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางความเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางความเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการศึกษาครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One-group Pretest-Posttest Design และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test แบบ Dependent Sample

            ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางความเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2/3 หลังการทดลองสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อพิจารณาแยกหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นรายด้านพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 มีความรู้ความเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แต่ละด้าน คือ ด้านพอประมาณ ด้านมีเหตุผล ด้านมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ด้านเงื่อนไขความรู้ และด้านเงื่อนไขคุณธรรม สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในทุกด้าน

Downloads

Download data is not yet available.

References

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550).
เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
ถวัลย์ มาศจรัส. (2550). การจัดการเรียนรู้ตามปรัชญาพระราชทาน เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธารอักษร จำกัด.
ธัญญา กฤตานนท์. (2552). การพัฒนาความเข้าใจและการเข้าถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา โดย
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการให้คำปรึกษา, มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น.
นภาพร จันทร์ป๊อก. (2550). รายงานการวิจัย เรื่อง รายงานผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิชา
คณิตศาสตร์ เรื่องพหุนาม. ลำปาง: โรงเรียนบุญญาวาทย์วิทยาลัย อำเภอเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 1.
ประเวศ วะสี. (2553). ประชาคมตำบล : ยุทธศาตร์เพื่อเศรษฐกิจพอเพียง ศีลธรรมและสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
ปราณี เข็มวงษ์. (2553). การสร้างแบบวัดคุณลักษณะความพอเพียงตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต วิจัยและประเมินผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.
ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2550). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานทรัพย์สินส่วน
พระมหากษัตริย์.
ปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์. (2547). ละครสร้างสรรค์สำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. (2549). เศรษฐกิจพอเพียง ร่วมเรียนรู้ สานเครือข่ายขยายผล. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง
แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
สำนักงานปลัดกระทรวง กระศึกษาธิการ. (2552). แนวทางการนิเทศเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา.กรุงเทพฯ: ศูนย์ประสานงานกลาง
การดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักกิจการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวง กระศึกษาธิการ.
สุทธาทิพย์ พิศฉลาด. (2551). การศึกษาความเข้าใจและการปฏิบัติของครูในโรงเรียนแกนนำตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต วิจัยการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28