การศึกษาพระพิมพ์แผงไม้ในจังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
พระพิมพ์, พระพิมพ์แผงไม้ลำปางบทคัดย่อ
พระพิมพ์ถือเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงพุทธศาสนา ในคัมภีร์และพระสูตรต่างๆ ได้กล่าวถึงพระพิมพ์ ที่เกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กับคติเรื่องเจดีย์ จัดอยู่ในประเภทอุเทสิกเจดีย์ ในล้านนาพบว่ามีการประดับพระพิมพ์ลงบนแผงไม้ และประดับภายในอาคารศาสนสถาน การประดับพระพิมพ์ในลักษณะเช่นนี้ สันนิษฐานว่าน่าจะได้รับอิทธิพลจากศิลปะพุกาม ในประเทศเมียนมา ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-19 โดยคติการสร้างพระพิมพ์แผงไม้นั้นน่าจะมาจากความเชื่อเรื่อง “อดีตพุทธ” ทั้งนิกายเถรวาทและมหายาน ที่เชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีมากมายนับไม่ถ้วนทั้งในอดีตและที่จะตรัสรู้ในอนาคต โดยจังหวัดลำปางเป็นจังหวัดหนึ่งที่พบพระพิมพ์แผงไม้มากที่สุด และนิยมสร้างพระพิมพ์ด้วยวัสดุเนื้อชิน พระพิมพ์ส่วนมากมีรูปแบบที่คล้ายกันคือ พระพิมพ์แสดงภูมิสปรรศมุทรา (ปางมารวิชัย) ในซุ้มเรือนแก้ว และนำพระพิมพ์เหล่านี้ประดับลงบนแผงไม้ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าน่าจะนิยมสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24-25 โดยการสร้างพระพิมพ์แผงไม้ น่าจะเกี่ยวเนื่องกับการสืบทอดอายุพุทธศาสนาให้ครบ 5,000 ปีตามความเชื่อปัญจอันตรธาน และยังเป็นการทำบุญปรารถนาในอานิสงค์ของผู้สร้าง
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ