การศึกษาสถานภาพและวิถีชีวิตสตรีไทยภาคเหนือจากงานบันทึกผ่านจิตรกรรมล้านนา
คำสำคัญ:
สถานภาพและวิถีชีวิตสตรีไทยภาคเหนือ, จิตรกรรมล้านนาบทคัดย่อ
ในสมัยจารีตขนบธรรมเนียมไทยในภาคกลางทำให้สตรีไม่มีสิทธิเท่าเทียมกับชาย เนื่องจากอิทธิพลของคติทางพุทธศาสนา การกำหนดสิทธิทางกฎหมาย ในสมัยนั้น มีรากฐานความคิดว่าสตรีเป็นผู้ก่อให้เกิดกิเลสแก่บุรุษซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญที่เกี่ยวกับการหลุดพ้น ทำให้สตรีมีโอกาสแตกต่างจากบุรุษ สตรีไม่สามารถบวชเป็นภิกษุได้ ขนบธรรมเนียมไทยได้วางบทบาทและสถานภาพของสตรีต่างจากบุรุษ ส่วนใหญ่บุรุษได้รับการฝึกฝนอบรมให้เป็นผู้มีความรู้เพื่อเป็นผู้นำ ส่วนสตรีมีหน้าที่รองลงไป เช่น ปรนนิบัติสามีและดูแลครอบครัว หรือการประกอบอาชีพซึ่งไม่จำเป็นต้องมีวิชาความรู้มากนัก สตรีจึงไม่ค่อยมีโอกาสทางการศึกษา อีกทั้งกฎหมายยังกำหนดสถานภาพของสตรีไทยในวัยเยาว์ให้เป็นทรัพย์สินของบิดามารดา และเมื่อเติบโตมีครอบครัวสตรีไทยก็ถูกกฎหมายกำหนดให้เป็นเสมือนทรัพย์สินของสามี สำหรับสตรีไทยภาคเหนือ ในอดีตได้มีกฎหมายมังรายศาสตร์บางข้อที่ได้ให้ความประนีประนอมแก่สถานภาพของสตรีอยู่หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายที่เกี่ยวกับลักษณะครอบครัว ซึ่งจะมีความแตกต่างกับข้อกำหนดในกฎหมายตราสามดวงที่ใช้กับสตรีไทยในภาคกลางในสมัยจารีตขนบธรรมเนียมไทยในภาคกลางทำให้สตรีไม่มีสิทธิเท่าเทียมกับชาย เนื่องจากอิทธิพลของคติทางพุทธศาสนา การกำหนดสิทธิทางกฎหมาย ในสมัยนั้น มีรากฐานความคิดว่าสตรีเป็นผู้ก่อให้เกิดกิเลสแก่บุรุษซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญที่เกี่ยวกับการหลุดพ้น ทำให้สตรีมีโอกาสแตกต่างจากบุรุษ สตรีไม่สามารถบวชเป็นภิกษุได้ ขนบธรรมเนียมไทยได้วางบทบาทและสถานภาพของสตรีต่างจากบุรุษ ส่วนใหญ่บุรุษได้รับการฝึกฝนอบรมให้เป็นผู้มีความรู้เพื่อเป็นผู้นำ ส่วนสตรีมีหน้าที่รองลงไป เช่น ปรนนิบัติสามีและดูแลครอบครัว หรือการประกอบอาชีพซึ่งไม่จำเป็นต้องมีวิชาความรู้มากนัก สตรีจึงไม่ค่อยมีโอกาสทางการศึกษา อีกทั้งกฎหมายยังกำหนดสถานภาพของสตรีไทยในวัยเยาว์ให้เป็นทรัพย์สินของบิดามารดา และเมื่อเติบโตมีครอบครัวสตรีไทยก็ถูกกฎหมายกำหนดให้เป็นเสมือนทรัพย์สินของสามี สำหรับสตรีไทยภาคเหนือ ในอดีตได้มีกฎหมายมังรายศาสตร์บางข้อที่ได้ให้ความประนีประนอมแก่สถานภาพของสตรีอยู่หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายที่เกี่ยวกับลักษณะครอบครัว ซึ่งจะมีความแตกต่างกับข้อกำหนดในกฎหมายตราสามดวงที่ใช้กับสตรีไทยในภาคกลาง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเข้ามาของชาติตะวันตกทั้งในสยามและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น ชาวตะวันตกเหล่านี้ได้ทำการบันทึกการดำรงชีวิตของสตรีไทยภาคเหนือทั้งสตรีชั้นสูงและสตรีสามัญชน นอกจากงานบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว ยังมีบันทึกรูปแบบอื่น เช่น ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดในภาคเหนือ ในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาวัดในพื้นที่ 2 จังหวัด คือจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่าน สำหรับจังหวัดเชียงใหม่ มีความสำคัญในฐานะเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาตะวันตก ส่วนจังหวัดน่าน เป็นศูนย์กลางล้านนาตะวันออก และมีหลักฐานภาพจิตรกรรมฝาผนังที่บ่งชี้สถานภาพของสตรีล้านนาในจังหวัดน่าน
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ