การจัดการเรียนการสอนกลุ่มวิชาทฤษฎีดนตรีสากล สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนการสอน; กลุ่มวิชาทฤษฎีดนตรีสากลบทคัดย่อ
การจัดการเรียนการสอนเป็นกระบวนการทางความคิด ผสมผสานกับการจัดประสบการณ์โดยมีจุดมุ่งหมายของหลักสูตรเป็นหลัก และมีเนื้อหาสาระเป็นสื่อที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนา นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเกื้อหนุนซึ่งประกอบไปด้วย ผู้เรียน เทคนิคการสอน สื่อการสอนตลอดจนสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนที่จะช่วยในการส่งเสริมการจัดการศึกษาให้บรรลุผล
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนกลุ่มวิชาทฤษฎีดนตรีสากล สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล และนิสิตสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ศึกษา (ดนตรีสากล) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ลงทะเบียนเรียนในกลุ่มวิชาทฤษฎีดนตรีสากลในปีการศึกษา 2557 จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนกลุ่มวิชาทฤษฎีดนตรีสากล ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือการวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีและด้านการวัดการประเมิน จำนวน 6 คน และหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือการวิจัยโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.87
ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนการสอนกลุ่มวิชาทฤษฎีดนตรีสากล ของสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีความเหมาะสมในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การจัดการเรียนการสอนกลุ่มวิชาทฤษฎีดนตรีสากลด้านเนื้อหาสาระ ด้านบริบทของการเรียนรู้ ด้านการวัดการประเมินผล และด้านอาจารย์ผู้สอนมีความเหมาะสมในระดับมาก ส่วนด้านสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนมีความเหมาะสมในระดับปานกลาง ผลของการวิจัยนี้จะเป็นข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนกลุ่มวิชาทฤษฎีดนตรีสากลให้มีคุณภาพ มีศักยภาพทางดนตรี เพื่อตอบสนองบริบทของสังคม
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ