ปราสาทวัดปรางค์ทอง อ.เมือง จ.นครราชสีมา : การซ่อมแปลงปราสาทเขมรและแรงบันดาลใจรูปแบบพระธาตุเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยมในศิลปะลาวล้านช้าง
คำสำคัญ:
การซ่อมแปลง, ปราสาทเขมร , เจดีย์ทรงบัวเหลี่ยมบทคัดย่อ
บทความเรื่อง ปราสาทวัดปรางค์ทอง อ.เมือง จ.นครราชสีมา : การซ่อมแปลงและแรงบันดาลใจรูปแบบ พระธาตุทรงบัวเหลี่ยมในศิลปะลาวล้านช้าง มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอเกี่ยวกับการวิเคราะห์รูปแบบการซ่อมแปลงปราสาทเขมรให้เป็นพระธาตุเจดีย์ โดยได้นำเอาปราสาทวัดปรางค์ทองมาเป็นตัวอย่างในการวิเคราะห์รูปแบบ อธิบายถึงความแตกต่างกันระหว่างปราสาทเขมรกับพระธาตุเจดีย์แบบลาวล้านช้าง ใช้วิธีการอธิบายแยกส่วนประกอบ คือ ส่วนฐาน ส่วนกลาง (เรือนธาตุ) และส่วนยอด บริเวณที่เห็นการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ได้แก่ ส่วนเรือนธาตุ และ ส่วนยอดของปราสาท
ปราสาทเขมรที่อยู่ในบริเวณวัดปรางค์ทองแห่งนี้ แม้จะเป็นปราสาทขนาดเล็ก (จากหลักฐานเดิมเป็นกลุ่มปราสาท 3 หลังและปราสาทหลังนี้ตั้งอยู่ด้านทิศใต้) แต่ปราสาทวัดปรางค์ทองก็มีความน่าสนใจในเรื่องการนำเอารูปแบบพระธาตุทรงบัวเหลี่ยมมาใช้ในการซ่อมแปลง ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งที่มีความนิยมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พระธาตุทรงบัวเหลี่ยม คือ เจดีย์ที่มีส่วนขององค์ระฆังเป็นทรงสี่เหลี่ยม เป็นเจดีย์ในศิลปะลาวล้านช้าง เริ่มเกิดขึ้นราวต้นพุทธศตวรรษที่ 22 และมีพัฒนาการรูปแบบเรื่อยมา
จากการวิเคราะห์การซ่อมแปลงปราสาทเขมรที่วัดปรางค์ทอง ทำให้เห็นว่า มีการนำเอารูปแบบเจดีย์ในศิลปะลาวมาใช้ในการซ่อมแปลงส่วนยอด เป็นความสัมพันธ์กันระหว่างศิลปะเขมรกับศิลปะลาวในโบราณสถานเดียวกัน เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงศาสนาในสังคม จากการนับถือศาสนาพราหมณ์ หันมา นับถือพระพุทธศาสนา รวมถึงการอพยพย้ายถิ่นฐานของกลุ่มคนลาวอีกด้วย
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ