จากไวท์เพ้นติ้งถึงไซเลนซ์พีซ
การแลกเปลี่ยนทางความคิดและแรงบันดาลใจระหว่างศิลปะและดนตรี
DOI:
https://doi.org/10.69598/sbjfa258434คำสำคัญ:
ความปรุโปร่ง, ความเงียบ, เสียงรบกวน, จอห์น เคจ, โรเบิร์ต เราส์เชนเบิร์กบทคัดย่อ
หลังจอห์น เคจทำการแสดงบทประพันธ์ 4’33” หรือที่เขาเรียกว่าไซเลน์พีซ ครั้งแรกในปีคริสต์ศักราช 1952 เสียงทุกเสียงที่เกิดขึ้นในบทเพลงไม่ว่าจะเป็นเสียงดนตรีหรือเสียงรบกวนก็ตาม ต่างมีความสำคัญในตัวเอง การประพันธ์ดนตรีจึงไม่ได้เป็นเพียงเพื่อความไพเราะ เช่นเดียวกับศิลปะที่ไม่ได้เป็นแค่การนำเสนอความเหมือนจริงหรือความงามเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงถึงความสำคัญของแนวคิดเรื่อง “ความปรุโปร่ง” ที่มีส่วนทำให้ผลงาน 4’33” มีความหมายในเชิงปรัชญาเช่นเดียวกับ “ความเงียบ” ในผลงาน แนวคิดที่เริ่มต้นจากรูปแบบเชิงนามธรรมในงานศิลปะแบบคิวบิสม์ และถูกใช้อย่างเป็นรูปธรรมในงานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ได้รับการนำกลับมาใช้ในงานดนตรีอีกครั้งโดยจอห์น เคจ ผ่านการวิเคราะห์ผลงาน ไวท์เพ้นติ้ง ในปีคริสต์ศักราช 1951 ของโรเบิร์ต เราส์เชนเบิร์ก และการสร้างสรรค์ผลงาน 4’33” ของตนเอง โดยใช้วิธีการศึกษาประวัติของผลงาน ไวท์เพ้นติ้ง บทสัมภาษณ์และบันทึกการบรรยายของเคจ เพื่อวิเคราะห์ถึงที่มาของแนวคิดอันสำคัญของเคจและเราส์เชนเบิร์ก ที่แสดงให้เห็นถึงสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างดนตรีและศิลปะ ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนตอบโต้แนวคิดและการแสดงออกทั้งทางปรัชญา ศาสนา ศิลปะ และดนตรีเข้าไว้ด้วยกันอย่างสมบูรณ์ครั้งหนึ่ง ณ ช่วงเวลาที่ผลงานได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้น
ผลของการศึกษาพบว่าแนวคิดของเคจที่ได้รับอิทธิพลจากปรัชญาตะวันออกและศาสนาพุทธ อันได้แก่ การลดทอนอัตตา การลดอคติ อันเป็นผลทำให้เกิดการรับเอาสิ่งอื่นเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของตนเอง หรือการหลอมรวมตนเองเข้ากับสิ่งอื่น ซึ่งผลก็คือการไม่แยกแยะระหว่างความงาม ความไม่งาม เสียงที่ไพเราะ เสียงที่รบกวน เป็นต้น และนอกจากนี้ยังเน้นเรื่องการกระทำอย่างไม่จงใจ มาใช้ในผลงานจิตรกรรมและดนตรีที่ทำให้ผู้คนเห็นถึงความสำคัญของสิ่งอื่นนอกเหนือไปจากตัวโน้ตและองค์ประกอบของจิตรกรรม และตระหนักถึงการมีอยู่ร่วมกันของความแตกต่างที่มีความสำคัญมากกว่าความงดงามของภาพและเสียงอันไพเราะ ซึ่งได้กลายมาเป็นรากฐานสำคัญของศิลปะและดนตรีร่วมสมัยในปัจจุบัน
References
ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์. (2564). “กำเนิดของสวนธรรมชาติและสวนทิวทัศน์แห้งและความสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมและจิตรกรรม” วารสารศิลป์ พีระศรี, 9(1). 19-60.
_________. (2565). สัมภาษณ์. เชียงใหม่: วันที่ 4 กันยายน 2565
ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2564). พจนานุกรม ศัพท์ดุริยางคศิลป์. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส.
โรว์, โคลิน และ สลัทสกี้, โรเบิร์ต. (2559). ความปรุโปร่ง. แปลโดย อาชัญญ์ บุญญานันต์. กรุงเทพมหานคร: ลายเส้น.
อติภพ ภัทรเดชไพศาล. (2560). เสียงของศตวรรษ: สังเขปแนวคิดและเทคนิคของ 10 นักแต่งเพลงสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.
Cage, J. (2013). Silence 50th Anniversary Edition. Hanover: Wesleyan University Press.
Furlong, W. (2010). Speaking of Art: Four decades of art in Conversation. China: Phaidon Press.
Isavorapant, Chaiyosh. (2021). “The Origin of Natural and Dry Landscape Garden and the Relationship with Architecture and Painting” Silpa Bhirasri Journal of Fine Arts, 9(1). 19-60.
_________. (2022). Interview. Chiang Mai: September 4, 2022
Joseph, B. W. (2003). Random Order: Robert Rauschenberg and The Neo-Avant-Garde. London, England: The MIT Press.
Kotz, M. L. (2004) Rauschenber / Art And Life New Edition. China: Abrams.
Pancharoen, Natchar. (2021). Music Dictionary. Bangkok: Thana Press.
Pataradetpisan, Atibhop. (2017). Sound of the Century: A brief Concept and Technique of 10 Modern Composers. Bangkok: Phapphim.
Rowe, Colin and Slutzky. (2016). Transparency. Translate by Archan Boonyanan. Bangkok: Li-Zeen.
San Francisco Museum of Modern Art. (2022). Rauschenberg Research Project. Retrieved from https://www.sfmoma.org/artwork/98.308.A-C/essay/white-painting-three-panel/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่แก้ไขดัดแปลง (CC BY-NC-ND 4.0)
อนุญาตให้สาธารณชนสามารถนำไปใช้โดย:
- แบ่งปัน: คัดลอกและแจกจ่ายเนื้อหาในสื่อหรือรูปแบบใดก็ได้
- แสดงที่มา: ให้เครดิตอย่างเหมาะสมแก่ผู้เขียน และวารสารว่าเป็นแหล่งที่มา
- ไม่ใช้เพื่อการค้า: ห้ามนำงานไปใช้ในเชิงพาณิชย์
- ไม่ดัดแปลง: ใช้งานต้นฉบับเท่านั้น ผลงานต้องไม่ถูกดัดแปลง
ทัศนะและข้อคิดเห็นในบทความเป็นของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้อง และไม่รับผิดชอบต่อข้อคิดเห็นเหล่านั้น