การถักทอและการจักสานในศิลปะร่วมสมัย

ผู้แต่ง

  • วิเชียร มีนิ่ม คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

DOI:

https://doi.org/10.69598/sbjfa238120

คำสำคัญ:

การถักทอ, การจักสาน, เส้นใย, กลิ่น, วัสดุจากธรรมชาติ

บทคัดย่อ

แม้จะเป็นเทคนิคที่แต่เดิมใช้กับงานพื้นบ้านและการใช้สอยในชีวิตประจำวัน เทคนิคการถักทอและจักสานกลับเด่นชัดในศิลปะร่วมสมัย บทความนี้ต้องการศึกษาแนวทางการนำเสนอความหมายของศิลปะร่วมสมัยผ่านศักยภาพเฉพาะของเทคนิคทั้งสองนี้ โดยเน้นศึกษาผลงานของศิลปินที่ได้รับการยอมรับว่าใช้สองเทคนิคนี้ได้น่าสนใจและมีเนื้อหาที่เกี่ยวพันกับโลกปัจจุบันอย่างลึกซึ้ง โดยอาศัยวิธีการศึกษาในเชิงเทคนิค วัสดุและการตีความความหมายของรูปทรง ผลการศึกษาพบว่า การถักทอและจักสานเป็นเทคนิคที่เลือกสรรวัสดุได้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่เส้นใยประเภทต่าง ๆ ที่ถูกผลิตขึ้นโดยมือมนุษย์ไปจนการใช้วัสดุที่นำมาจากธรรมชาติ ทั้งกิ่งไม้และเส้นหวาย ตัวของวัสดุและเทคนิคทำให้สร้างรูปทรงชีวรูปได้อย่างสวยงาม ทำให้สามารถสื่อสารประเด็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้ชัดเจน หนึ่งในศิลปินเรียกงานตัวเองว่า “พื้นที่ถักทอ” ซึ่งสามารถขยายขนาดดึงคนดูเข้าไปยังพื้นที่ภายใน ลักษณะเฉพาะของวัสดุยังให้สัมผัสอื่น ๆ เช่นกลิ่นได้อีกด้วย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-04-2020

How to Cite

มีนิ่ม ว. (2020). การถักทอและการจักสานในศิลปะร่วมสมัย. วารสารศิลป์ พีระศรี, 7(2), 51–64. https://doi.org/10.69598/sbjfa238120