สื่อการเรียนรู้ประเภทสิ่งพิมพ์ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่เหมาะสมสำหรับเยาวชน
คำสำคัญ:
การจัดการศึกษาในพิพิธภัณฑ์, พิพิธภัณฑ์ศิลปะ, สื่อการเรียนรู้, เยาวชนบทคัดย่อ
การให้ความรู้ในบริบทของพิพิธภัณฑ์ศิลปะหรือหอศิลป์ของประเทศไทยยังมีปัญหาด้านต่าง ๆ
โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเยาวชน จากประสบการณ์เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์จากต่างประเทศ
พบว่ามีการผลิตสื่อใบงานในประเภทสิ่งพิมพ์สำาหรับให้บริการอย่างแพร่หลายและเข้าถึงได้ง่าย
บทความนี้มีวัตถุประสงค์คือศึกษาและวิเคราะห์สื่อการเรียนรู้ประเภทสิ่งพิมพ์ในพิพิธภัณฑ์
ศิลปะที่เหมาะสมสำหรับเยาวชน โดยผู้เขียนได้ทำการศึกษาข้อมูลเชิงเอกสารและตัวอย่างสื่อ
การเรียนรู้ดังกล่าว ในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ 1) การจัดการศึกษาในพิพิธภัณฑ์หรือหอศิลป์
ของประเทศไทย 2) สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กในรูปแบบสิ่งพิมพ์ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะและตัวอย่าง 3) ข้อเสนอแนะจากนักการพิพิธภัณฑ์ต่างประเทศ 4) สาระมาตรฐานการเรียนรู้ศิลปะ 5)
ลักษณะและพฤติกรรมของเด็กในพิพิธภัณฑ์
ผลจากการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า สื่อการเรียนรู้ประเภทสิ่งพิมพ์ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่เหมาะ
สมสำาหรับเยาวชน ควรมีการพัฒนาโดยคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้ 1) การนำไปใช้จริง ควรมี
การทดลองนำไปใช้จริง คำนึงถึงสถานการณ์และควรให้ผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางศิลปะทดลองใช้
ด้วย 2) เนื้อหา การตั้งคำถามและกิจกรรม ควรเป็นเนื้อหาที่เชื่อมโยงกับสาระการเรียนวิชา
ทัศนศิลป์ในบริบทของโรงเรียนหรือตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำาหนด ควรใช้คำถามที่หลาก
หลาย รวมถึงมีการใช้คำถามแบบนิรนัยด้วย 3) การพัฒนาภาพรวมของสื่อ ควรใช้ภาษาที่
กระชับและเหมาะสมกับช่วงอายุของเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย คำนึงถึงการอกแบบภาพรวมที่
สอดคล้องไปกับการใช้งานจริงด้วย
Downloads

เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่เผยแพร่ในวารสารศิลป์ พีระศรี ลิขสิทธิ์เป็นของผู้เขียน และวารสาร ผู้อ่านสามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่แก้ไขดัดแปลง (CC BY-NC-ND 4.0)
ทัศนะและข้อคิดเห็นในบทความเป็นของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้อง และไม่รับผิดชอบต่อข้อคิดเห็นเหล่านั้น