การเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (Metamorphosis) ด้วยรูปแบบเทสเซลเลชั่น (Tessellation) ภายใต้ ผลงานศิลปะประเภทภาพนิ่ง (Still Image) ของศิลปิน เมาริตส์ กอร์เนลิส แอ็ชเชอร์
DOI:
https://doi.org/10.69598/sbjfa204848คำสำคัญ:
เทสเซลเลชั่น, ภาพนิ่ง, เมตามอร์โฟซิสบทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิเคราะห์แนวคิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอย่างสิ้นเชิง (Metamorphosis) ด้วยรูปแบบเทสเซลเลชั่น (Tessellation) ภายใต้ผลงานศิลปะประเภทภาพนิ่ง
(Still Image) ของศิลปิน เมาริตส์ กอร์เนลิส แอ็ชเชอร์ (Maurits Cornelis Escher หรือ M.C.
Escher) โดยนัยของการศึกษาครั้งนี้จะมุ่งประเด็นไปยังการศึกษาเฉพาะผลงานชุด Metamorphosis I, 1937 และ Metamorphosis II, 1940 ที่ประกอบด้วย หรือการเปลี่ยนแปลงรูปทรง
หนึ่งไปยังรูปทรงอื่นโดยไม่เหลือเค้าโครงเดิม ผสมผสานกับรูปแบบเทสเซลเลชั่นมานำเสนอ
วิธีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงในผลงาน จากศึกษาผลงานพบว่าศิลปินได้ใช้รูปแบบเทสเซลเลชั่น ประเภท 2 มิติ จากการนำารูปทรงทั่วไปมารองรับแนวคิดการเปลี่ยนรูปร่างอย่างสิ้นเชิง ด้วย
การแปลงรูปทรงตามพื้นฐานทางเรขาคณิตทั้ง 4 รูปแบบ ได้แก่ 1. การเลื่อนขนาน (translation symmetry) 2. การสมมาตรโดยการสะท้อน (reflection symmetry) 3. การสมมาตร
โดยการหมุน (rotation symmetry) และ 4. การสมมาตรโดยการสะท้อนแบบเลื่อน (glide
reflection symmetry) เพื่อสร้างสรรค์ให้เป็นผลงานศิลปะในรูปทรงแบบต่าง ๆ อย่างเป็น
ระบบ ซึ่งรูปแบบดังกล่าวเป็นการหยิบยืมวิธีจากศาสตร์เรขาคณิตมาประยุกต์ใช้กับผลงาน
ศิลปะ หรือเรียกว่า “คณิตศิลป์” กล่าวได้ว่า การนำาสุนทรียศาสตร์ของศิลปะก้าวข้ามไปผสม
กับคณิตศาสตร์ด้วยผลงานศิลปะที่นำเสนอรูปแบบการเปลี่ยนแปลงรูปทรงด้วยเทคนิควิธีเทส
เซลเลชั่นของแอ็ชเชอร์ คือการบูรณาการข้ามศาสตร์ต่างสาขาวิชามาประยุกต์ไว้ด้วยกัน ก่อ
ให้เกิดองค์ความรู้ใหม่และขยายคุณูปการให้แก่ผู้คนในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่แก้ไขดัดแปลง (CC BY-NC-ND 4.0)
อนุญาตให้สาธารณชนสามารถนำไปใช้โดย:
- แบ่งปัน: คัดลอกและแจกจ่ายเนื้อหาในสื่อหรือรูปแบบใดก็ได้
- แสดงที่มา: ให้เครดิตอย่างเหมาะสมแก่ผู้เขียน และวารสารว่าเป็นแหล่งที่มา
- ไม่ใช้เพื่อการค้า: ห้ามนำงานไปใช้ในเชิงพาณิชย์
- ไม่ดัดแปลง: ใช้งานต้นฉบับเท่านั้น ผลงานต้องไม่ถูกดัดแปลง
ทัศนะและข้อคิดเห็นในบทความเป็นของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้อง และไม่รับผิดชอบต่อข้อคิดเห็นเหล่านั้น