สีสันในสังคมพหุวัฒนธรรมของชาวใต้
DOI:
https://doi.org/10.69598/sbjfa161729คำสำคัญ:
สีสันของชาวใต้, พหุวัฒนธรรมชาวใต้, จิตรกรรมบาติกบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีสมมติฐานว่าศิลปกรรมในสังคมวัฒนธรรมหนึ่ง ๆ มีพื้นฐานมาจากสภาพแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติและ
สภาพแวดล้อมในชีวิตประจำวันจากนั้นจึงคลี่คลายเป็นรูปแบบและสีสันของศิลปะ ทั้งนี้เพราะศิลปินย่อมต้องได้เห็นและสัมผัส
เป็นประจำอยู่แล้ว กระบวนการวิจัยจึงใช้วิธีเก็บข้อมูลจากสภาพแวดล้อมจริงทั้งในกลุ่มที่อยู่ในชีวิตประจ าวัน เช่น อาหาร ,
เสื้อผ้า, ศิลปะการแสดงท้องถิ่น เช่น มโนราห์, พาหนะในการเดินทาง เช่น เรือกอและ, ท้ายรถ ไปจนกระทั่ง สถาปัตยกรรม
จิตรกรรมฝาผนัง เป็นต้น จากนั้นน าข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาสัดส่วนของสีในแบบวิทยาศาสตร์ที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมที่
ผสมผสานกันอยู่ในภาคใต้ คือ ชาวจีน, ศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม ผลการวิจัยพบว่า ในวัฒนธรรมของชาวใต้นั้นมีลักษณะ
เป็นพหุวัฒนธรรม กล่าวคือมีสีสันที่หลากหลาย ทั้งชุดที่เป็นสีสันสดใสประสานกับสีหม่น, ชุดที่เป็นสีสันสดใสกับความแวววาว
ของทองค าเปลว หรือชุดที่เป็นสีสันของปูนปั้นที่เป็นกลุ่มสีพาสเทล ฯลฯ ซึ่งในการอยู่อาศัยในพหุวัฒนธรรมแบบนี้นั้นท าให้เกิด
การผสมผสานที่หาขอบเขตแยกออกจากกันได้ยาก การค้นพบนี้น่าจะส่งผลต่อการศึกษาสีสันในวัฒนธรรมอื่นๆอีกต่อไป

เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่แก้ไขดัดแปลง (CC BY-NC-ND 4.0)
อนุญาตให้สาธารณชนสามารถนำไปใช้โดย:
- แบ่งปัน: คัดลอกและแจกจ่ายเนื้อหาในสื่อหรือรูปแบบใดก็ได้
- แสดงที่มา: ให้เครดิตอย่างเหมาะสมแก่ผู้เขียน และวารสารว่าเป็นแหล่งที่มา
- ไม่ใช้เพื่อการค้า: ห้ามนำงานไปใช้ในเชิงพาณิชย์
- ไม่ดัดแปลง: ใช้งานต้นฉบับเท่านั้น ผลงานต้องไม่ถูกดัดแปลง
ทัศนะและข้อคิดเห็นในบทความเป็นของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้อง และไม่รับผิดชอบต่อข้อคิดเห็นเหล่านั้น