“ฉาก” ในนิยายภาพไร้ตัวอักษร ของฟรองส์ มาเซอรีล
คำสำคัญ:
ฟรองส์ มาเซอรีล, นิยายภาพไร้ตัวอักษร, เอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งนำเสนอการใช้ “ฉาก” ในนิยายภาพไร้ตัวอักษร (Wordless novel) ของฟรองส์ มาเซอรีล (Franz Maserreal ค.ศ.1889 - 1972) ศิลปินและนักออกแบบกราฟิกชาวเบลเยียมที่ทำงานอยู่ในกระแสศิลปะเอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์โดยศึกษา ฉาก ในนิยายภาพไร้ตัวอักษรจำนวน 5 เล่ม โดยประเด็นที่ศึกษาได้แก่ 1. การใช้ฉากหลังเป็นสถานที่เกิดเรื่องราว 2. การใช้ฉากหลังในการแสดงอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร โดยนิยายภาพไร้ตัวอักษรที่เลือกมาศึกษาและวิเคราะห์ต่างเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของ ฟรองส์ มาเซอรีล จำนวน 5 เรื่องคือ (1) 25 ภาพของกิเลสมนุษย์ (Twenty-Five Images of a Man’s Passion, ค.ศ. 1918), (2) การเดินทางอันน่าหลงใหล (Passionate Journey, ค.ศ. 1919), (3) พระอาทิตย์ (The Sun, ค.ศ. 1919), (4) ความคิด (The Idea, ค.ศ. 1920) และ (5) เมือง (The City, ค.ศ. 1925) จากการศึกษาพบว่า 1. การใช้ฉากหลังเป็นสถานที่เกิดเรื่องราว ของนิยายภาพไร้ตัวอักษรทั้ง 5 เรื่อง ศิลปินค่อยๆให้ความสำคัญกับ ฉาก มากขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับเวลาในการสร้างหนังสือและมีการใช้ฉากเข้ามามีปฎิสัมพันกับตัวละครในหนังสือเรื่อง “ความคิด” ซึ่งเป็นหนังสือที่มีลักษณะในการเล่าเรื่องเชิงเปรียบเทียบและมีความซับซ้อนมากกว่าเล่มอื่นๆ 2. การใช้ฉากหลังในการแสดงอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร พบว่าศิลปินใช้การบิดเบือนอาคารบ้านเรือนภายนอกเพื่อสะท้อนอารมณ์ภายในของตัวละคร และเมื่ออยู่ภายในอาคาร สังเกตเห็นว่าศิลปินไม่ได้บิดเบือนฉากแต่กลับสร้างกราฟิกขึ้นใหม่จากพื้นที่ว่าง เพื่อบรรยายอารมณ์และความรู้สึกที่มองไม่เห็นให้เป็นรูปธรรม โดยการบิดเบือนฉากหลังภายนอก ศิลปินจะใช้วิธีการนี้้ในการเล่าเรื่องที่ซับซ้อนและต้องใช้จินตนาการมาก ในขณะที่ใช้การสร้างกราฟิกเพื่อสื่อสารอารมณ์ภายในของตัวละครในฉากภายในอาคาร ในการเล่าเรื่องที่ไม่ซับซ้อนเท่า
Downloads

เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่เผยแพร่ในวารสารศิลป์ พีระศรี ลิขสิทธิ์เป็นของผู้เขียน และวารสาร ผู้อ่านสามารถนำบทความไปเผยแพร่ได้ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่แก้ไขดัดแปลง (CC BY-NC-ND 4.0)
ทัศนะและข้อคิดเห็นในบทความเป็นของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้อง และไม่รับผิดชอบต่อข้อคิดเห็นเหล่านั้น