โมเดลการวัดองค์ประกอบเชิงยืนยันการสะท้อนคุณค่าแห่งแรงบันดาลใจ จากการบริหารหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Main Article Content

ไพโรจน์ บุตรชีวัน
จันทนา อุดม
นงนุช ไพบูลย์รัตนานนท์
ณรงค์ฤทธิ์ ประสานตรี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และตรวจสอบโมเดลการวัดองค์ประกอบเชิงยืนยันการสะท้อนคุณค่าแห่งแรงบันดาลใจของนักศึกษา จากการบริหารหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร  กับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการทั่วไป จำนวน 403 ตัวอย่าง สุ่มด้วยวิธีการแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง


ผลการวิจัย พบว่า โมเดลการวัดองค์ประกอบเชิงยืนยันการสะท้อนคุณค่าแห่งแรงบันดาลใจของนักศึกษาฯ มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ กิจกรรมเสริมหลักสูตร  กิจกรรมหลักของหลักสูตร  คุณลักษณะอาจารย์บันดาลใจ  คุณค่าของหลักสูตร  และการสะท้อนคุณค่าแห่งแรงบันดาลใจฯ มีค่าความสอดคล้องและกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานของทุกตัวบ่งชี้อยู่ในเกณฑ์สูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และสามารถใช้วัดการสะท้อนคุณค่าแห่งแรงบันดาลใจของนักศึกษาฯ ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไข่มุกด์ วิกรัยศักดา และ เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2562). ความสำคัญของประสบการณ์ลูกค้าในธุรกิจบริการ การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางการตลาดในโลกอนาคต. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 12(2), 537-554.

คณะกรรมการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2562). คู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: เค.พี. จันทรเกษม.

ชุลีวรรณ ปราณีธรรม. (2560). แรงบันดาลใจในการมีจิตสาธารณะเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(1), 254-264.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการสร้างเครื่องมือวิจัย: แนวทางการนำไปใช้อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

ณัฐกานต์ ประจัญบาน และ ปกรณ์ ประจันบาน. (2564). การพัฒนาแบบวัดและเกณฑ์การประเมินกระบวนการสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์กลุ่มแฝง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(3), 411-424.

ธวัชชัย โพธิบัวทอง และ จิรศักดิ์ สุรังคพิพรรธน์. (2565). แนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความฉลาดทางดิจิทัล. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(2), 127-140.

ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และ อรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2565). การพัฒนาหลักสูตรพหุวิทยาการและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาชีพเชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและการเรียนรู้เชิงผลิตภาพของผู้เรียนในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 739-759.

พรรณสิยา นิธิกิตติ์สุขเกษม และ บุญฑวรรณ วิงวอน. (2561). โมเดลความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการของผู้เรียนในโครงการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อการศึกษา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 7(1), 146-161.

พีรพงศ์ แท่นวิทยานนท์, เกศรา สุกเพชร และโชคชัย สุเวชวัฒนกุล. (2562). การบริหารประสบการณ์ลูกค้า คุณค่า และความพึงพอใจลูกค้าในธุรกิจท่องเที่ยวต่างประเทศ: ความสัมพันธ์เชิงทฤษฎี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(1), 107-122

มนัสดา ลูกอินทร์ และ อมรา เขียวรักษา. (2563) ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การกีฬา, 3(1), 41-51.

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. (31 มกราคม 2563). หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2563, จาก https://manage.pnru.ac.th/upload-files/uploadfile/ 12/2e1cd848a99031a2cb416a8d2e9cf60e.pdf

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วย AMOS. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เรณุมาศ มาอุ่น. (2559) การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(2), 169-176.

วีรเทพ สุดแดน และคณะ (2556). ยุทธศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมเสริมหลักสูตรของนิสิตมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 3(3), 27-32.

วุฒิ สุขเจริญ. (2561). วิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สัญญา สดประเสริฐ. (2562). ศตวรรษที่ 21: ทักษะการเรียนรู้สู่ความเป็นครูมืออาชีพ. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(1), 1-12.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. (31 มกราคม 2563). รายงานการคงอยู่ของนักศึกษา ปี 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2563, จาก http://etcserv.pnru.ac.th/Offi/acade/ statisticjeab/62/month/ 11/2.pdf

สุภมาส อังศุโชติ. (2557). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม Lisrel. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: เจริญมั่นคงการพิมพ์.

อรพรรณ ขันแก้ว และ นุชนรา รัตนศิระประภา. (2565). ทักษะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งความสุขของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอในเขตภาคกลาง. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(2), 81-92.

อรพรรณ คงมาลัย และ อัญณิฐา ดิษฐานนท์. (2561). เทคนิคการวิจัยด้านการบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Chan, J. C. Y., & Lam, S. F. (2008). Effects Of Competition on Students' Self-Efficacy in Vicarious Learning. British Journal of Educational Psychology, 78(1), 95-108.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Halawah, I. (2011). Student's Motivation to Learn from Students' Perspective. Education, 132(2), 379-390.

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, S., Tuwanno, P. D. M., Srichan, P. W. ., & Udomdhammajaree, P. (2022). Educational Quality Assurance and School Management Standards According to International. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 6(1), 1–16.