ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อต้นไม้ผ่านทางสังคมออนไลน์ : กรณีศึกษารูปแบบไลฟ์สดผ่านแพลตฟอร์มเฟสบุ๊คของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ชัญญณัท กริ่มใจ
พิบูล ทีปะปาล
พงษ์เทพ ศรีโสภาจิต
จุฬาลักษณ์ ฟูรูโนะ
พรประภา ศรีราพร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อต้นไม้ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อต้นไม้ โดยการซื้อผ่านทางสังคมออนไลน์ กรณีศึกษา รูปแบบไลฟ์สด ผ่านแพลตฟอร์มเฟสบุ๊คของผู้บริโภค กรณีศึกษาในกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเลือกเก็บแบบสอบถามจากประชากรกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย จำนวน 300 คน ที่เคยใช้หรือซื้อสินค้าออนไลน์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ สถิติพื้นฐานเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป และสถิติอ้างอิงพารามิเตอร์วิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ
          ผลการวิจัยพบว่า ด้านปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อต้นไม้ผ่านทางสังคมออนไลน์ รูปแบบไลฟ์สดผ่านแพลตฟอร์ม เฟซบุ๊ก พบว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญในระดับมากที่สุด คือมีสินค้าให้เลือกซื้อหลากหลายประเภท ความสะดวกรวดเร็ว สามารถทำการสั่งซื้อได้ตลอดเวลา และเรื่องท่านใช้ข้อมูลการรีวิวสินค้าจากผู้เชี่ยวชาญในการตัดสินใจซื้อ ตามลำดับ ด้านส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อต้นไม้ผ่านทางสังคมออนไลน์ รูปแบบไลฟ์สดผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก เป็นรายด้านดังนี้ด้านการให้บริการแบบเจาะจง ด้านการให้บริการส่วนบุคคล ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มี ด้านราคา ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ และด้านการตัดสินใจซื้อต้นไม้ผ่านทางสังคมออนไลน์ ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่สำคัญ ได้แก่ 1) ด้านการให้บริการส่วนบุคคล 2) ด้านผลิตภัณฑ์ 3) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และปัจจัยส่วนบุคคลที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ ได้แก่ 1) สินค้ามีให้เลือกซื้อหลากหลาย 2) ความสะดวกรวดเร็ว สามารถทำการสั่งซื้อได้ตลอดเวลา 3) ข้อมูลการรีวิวสินค้าจากผู้เชี่ยวชาญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). New-Normal. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564, จาก https://www.tosh.or.th/covid-19/index.php/new-normal

กรุงเทพธุรกิจ ทีมกรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2563). ทำไมธุรกิจ “ขายต้นไม้” ถึงงอกงามได้ในสภาวะวิกฤติ. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/880136

โกวิทย์ กังสนันท์. (2549). กระบวนการตัดสินใจด้านการบริหารและกรอบความคิดทั่วไป. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ธัญวัฒน์ กาบคํา. (2553). สังคมออนไลน (Social Media) ์ คืออะไร. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564, จาก https://krunum.wordpress.com/2010/06/02/social-network/.

ธนพร แตงขาว. (2541). พฤติกรรมการบริโภคสินค้าของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ผกามาศ ไชยวิสุทธิกลุ และณักษ์ กุลิสร์. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อกระเป๋าเลียนแบบแบรนด์เนมของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 5(1), 97-115.

รังสรรค์ สุธีสิริมงคล.(2562) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร(บัณฑิตวิทยาลัย). มหาวิทยาลัยสยาม.

ศิรินทร์ ซึ้งสุนทร. (2542). การเปิดรับทัศนคติและพฤติกรรมการซื้อของกลุ่มวัยทำงานตอนต้นที่มีต่อการตลาดทางตรง(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุณิสา ตรงจิตร์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace)(การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิภาวรรณ มโนปราโมทย์ .(2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์(อินสตาแกรม)ของประชากรในกรุงเทพมหานคร(การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อัครเดช คงด์วง. (2557). ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าเฮ้าส์ แบรนด์ของกลุ่มผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 3(2), 32-47.