ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค ในเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

คมสิงห์ วิวัฒนภูษิต
เสาวรัตน์ บรรยงพัฒนะ
พงษ์เทพ ศรีโสภาจิต
จุฬาลักษณ์ ฟูรูโนะ
พิบูล ทีปะปาล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในเขตดอนเมืองกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้ริโภคในเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัย ผู้บริโภคที่ให้ความสนใจใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยจำนวนกลุ่มตัวอย่างได้จากการใช้ตารางสำเร็จรูปของทาโร ยามาเน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพื้นฐานวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และสถิติอ้างอิงพารามิเตอร์ วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว one-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า


1. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า ด้านส่วนประสมทางการตลาด ด้านคุณค่าตราสินค้า และด้านการยอมรับเทคโนโลยี ตามลำดับ


 2. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยในระดับมาก


ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามากที่สุด คือ คุณค่าตราสินค้า รองลงมา คือ ส่วนประสมทางการตลาด และการยอมรับเทคโนโลยี ผู้บริโภคให้ความสำคัญต่อ สิ่งต่อไปนี้ 1) ข้อมูลของรถยนต์ไฟฟ้าจากผู้เชี่ยวชาญ 2) เทคโนโลยีใหม่ในการรักษาสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน 3) ความทันสมัยกว่าการใช้รถยนต์ทั่วไป 4) ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านน้ำมัน 5) เปรียบเทียบรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละยี่ห้อ ในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญจน์นิกข์ กําเนิดเพ็ชร์. (2563). ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง, 5(1), 53-72.

กรุงศรี. com. (2565). รถยนต์ไฟฟ้า: ความต้องการและโอกาสที่กำลังมาถึง. สืบค้นจากhttps://www.krungsri.com/th/research/research-intelligence/ev-survey-22. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565.

ชรินทร์ เขียวรัตนา. (2562). ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการ QR Code ผ่าน

สมาร์ทโฟน กรณีศึกษาลูกค้าธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา(สารนิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ฉัตรยาพร เสมอใจ. (2558). การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ: ส. เอเซียเพลส.

ณัฐฌาน นาวีวงค์. (2558). ปัจจัยการตลาด การรับรู้ และทัศนคติที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์อีโคคาร์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 5(1), 262-274.

พิทยาภรณ์ วงษ์กิตติวัฒน์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภควัยทำงานในกรุงเทพมหานคร(การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พงศา ธเนศศรียานนท์. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์รุ่นประหยัด (Eco cars) ที่มีเครื่องยนต์ ไม่เกิน 1,600 ซีซี ในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

พงศ์พุฒิ การะนัด. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี(สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

ศศิพร เหมือนศรีชัย. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับ ERP Software ของผู้ใช้งานด้านบัญชี. วารสารวิชาชีพ, 8(22), 38-51.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: เพชรจรัสแสง.

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

Armstrong, G. & Kotler, P. (2009). Marketing, An introduction. New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Kotler, P. (2000). Marketing Management. New Jersey: Prentice – Hall.

Kotler, P., & Keller, K. (2003). Marketing Management. New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Schiffman, L., & Kanuk, L. (2007). Consumer Behavior. (9th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.