ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ ระบบขนส่งสินค้าของบริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด

Main Article Content

ปภินดา คำมณี
ศิระ ศรีโยธิน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการ ภาพลักษณ์ตราสินค้า ความไว้วางใจ และการตัดสินใจเลือกใช้บริการระบบขนส่งสินค้าของบริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ตราสินค้า และความไว้วางใจระบบขนส่งสินค้าของบริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาพลักษณ์ตราสินค้า และความไว้วางใจ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการระบบขนส่งสินค้าของบริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัย คือ สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดนครปฐม ที่เคยใช้บริการระบบขนส่งสินค้าของบริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 400 คน ใช้วิธีคัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพการให้บริการ ภาพลักษณ์ตราสินค้า ความไว้วางใจ และการตัดสินใจเลือกใช้บริการระบบขนส่งสินค้าของบริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด อยู่ในระดับมาก 2) คุณภาพการให้บริการมีอิทธิพลเชิงบวกต่อภาพลักษณ์ตราสินค้าและความไว้วางใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และ
3) ภาพลักษณ์ตราสินค้าและความไว้วางใจมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ข้อค้นพบจากงานวิจัยทำให้ บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด พัฒนาการบริการให้ดียิ่งขึ้น แก้ไขจุดบกพร่องที่อาจมีอยู่ โดยการสนับสนุนด้านการจัดอบรมบุคลากรในองค์กร พัฒนาความรู้ให้แก่พนักงาน เพื่อให้พนักงานเกิดการพัฒนาตัวเองจนนำไปสู่การให้บริการลูกค้าที่ดียิ่งขึ้นไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. (2561). ธุรกิจระหว่างประเทศและการปรับตัวของธุรกิจไทย. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์.

จิตรา สุริสา. (2561). อิทธิพลของภาพลักษณ์ตราสินค้าต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ MYMO: กรณีศึกษา ธนาคารออมสิน สาขาเลย อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย.(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ชุติมา แก่นจันทร์. (2562). อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการ การรับรู้คุณค่า และภาพลักษณ์ต่อความเต็มใจที่จะจ่ายต่อ สินค้าและบริการผ่านความพึงพอใจของลูกค้าของธนาคารออมสิน เขตภาคตะวันตก.(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฐายิกา เงินประสม. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการบริการกับความภักดีต่อตราสินค้าของผู้ใช้บริการบริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด สาขาตลาดรังสิต. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 55, 451-458.

ณิชาภัทร บัวแก้ว และ กฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2562). การเปรียบเทียบลักษณะผู้ใช้บริการ คุณภาพบริการที่ได้รับและประสิทธิภาพที่ได้รับที่ส่งผลต่อการใช้บริการซ้ำของบริษัท ขนส่งเคอรี่เอ็กซ์เพรส จำกัด และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(4), 1782-1796.

พุทธชาด สมพันธ์สาทิตย์. (2559). ความคาดหวัง ทัศนคติ และความไว้วางใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเรียกรถแท็กซี่ ผ่านแอพพลิเคชั่นของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นัทธมน ตั้งเมืองทอง. (2562). คุณภาพการบริการ การรับรู้คุณค่าตราสินค้า และการรับรู้ประเทศแหล่งกำเนิด ที่ส่งผลต่อความไว้วางใจและการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางแบรนด์ไทย ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เสกสิทธิ์ มุ่งรวยกลาง. (2561). ปัจจัยประสิทธิภาพและนวัตกรรมที่ส่งผลต่อทัศนคติ ความไว้วางใจ และการเลือกใช้ธนาคารออนไลน์ ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร.(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

โสรัจจะราช เถระพันธ์. (2561). คุณภาพการบริการและการบริหารความสัมพันธ์กับผู้รับบริการที่ส่งผลต่อความไว้วางใจ ความพึงพอใจ และความภักดีของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน ในจังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อานุมาต มะหมัด. (2561). ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปประเภทไส้กรอก ในร้านสะดวกซื้อ A ในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 32(103), 131-147.

Biel, A. L. (1993). How brand image drive brand equity. Journal of Advertising Reseach, 32,(12), RC6-RC12.

Crotts, J. C., & Turner, G. B. (1999). Determinants of intra-firm trust in buyer-seller relationships in the international travel trade. International Journal of Contemporary Hospitality Management, 11(2/3), 116-123.

Edwards, W., & Tversky, A. (1967). Decision making: Selected readings. London: Penguin Books.

Fox, A. (1974). Applied Human Relations. New York: McGraw-Hill.

Gronroos, C. (1984). Service management and marketing. Massachusetts: Lexington Books.

Kahle, L. R., & Kim, C. (2006). Creating images and the psychology of marketing communication. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2012). Marketing management: Analyzing consumer marketing and Buyer behavior (The Millennium). New Jersey: Prentice Hall.

Luhmann, N. (1979). Trust and Power. Chichester: Wiley.

Parasuraman, A., & Berry, L. L. (1990). Qualitative inquiry & research design: Choosing among five approaches and methods. California: SAGE Publications.

Penchansky, R., & Thomas, J. W. (1981). The concept of access definition and relationship to consumer satisfaction. Medical Care, 19 (2), 127-140.