โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความความสุขในการทำงานของพนักงานห้างสรรพสินค้า เขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นันทิยา บุญยปรารภชัย
ประพล เปรมทองสุข

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของบรรยากาศองค์การ ความผูกพันต่อองค์การ คุณภาพชีวิตในการทำงาน และความสุขในการทำงานของพนักงานห้างสรรพสินค้า 2) อิทธิพลของบรรยากาศองค์การและความผูกพันต่อองค์การที่มีต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานห้างสรรพสินค้า และ 3) อิทธิพลของคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีต่อความสุขในการทำงานของพนักงานห้างสรรพสินค้า รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดบรรยากาศองค์การ ความผูกพันต่อองค์การ คุณภาพชีวิตในการทำงาน และความสุขในการทำงานเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ เขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานผู้ที่ปฏิบัติงานในห้างสรรพสินค้า จำนวน 420 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลและอธิบายผลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า


1. บรรยากาศองค์การมี ความผูกพันต่อองค์การ คุณภาพชีวิตในการทำงานมี และความสุขในการทำงาน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับสูงทั้งหมด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.02, 4.16, 3.83 และ 3.99 ตามลำดับ


 2. บรรยากาศองค์การและความผูกพันต่อองค์การมีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานห้างสรรพสินค้า ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.001


3. คุณภาพชีวิตในการทำงานมีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานห้างสรรพสินค้า ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.001
ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ผู้บริหารสามารถนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการสร้างความสุขในการทำงานให้แก่บุคลากรในองค์การ เพื่อความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์การ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงแรงงาน. (2562). คุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Working life). Retrieved from https://www.tosh.or.th/index.php/blog/item/475-quality-of-working-life

กุลิสรา ภาณุชไพศาล. (2557). บรรยากาศองค์การกับพฤติกรรมการทำงานของพนักงานสายปฏิบัติการโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี 1 เทศบาลเมืองจันทบุรี(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ขวัญลดา สุรินทร์. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทํางานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอําเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย(การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

จิราภรณ์ สุขอินทร์. (2558). การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล บรรยากาศองค์การ ความผูกพันต่อองค์การ และความพึงพอใจในงานที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร(สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ฉวีวรรณ เอี่ยมพญา. (2559). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 7(2), 183-193.

ณัฐชยา ศรีจันทร์. (2560). ความสุขในการทำงานของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท เอพี ออโต้ มาสเตอร์ จำกัด (สารนิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก.

ปฏิมา ถนิมกาญจน์ และเพ็ญพร ปุกหุต. (2565). บรรยากาศองค์การส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานผ่านคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานบริษัทในเขตนิคมอุตสาหกรรมสุรนารี Academic Journal of Management Technology, 3(1), 83-96.

ประภาพร บุญเพิ่ม. (2555). การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพกับพยาบาลผู้ชำนาญเฉพาะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปสังกัดกระทรวงสาธารณสุข(วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พรทิพย์ ไชยฤกษ์. (2555). ความผูกพันต่อองค์กรและพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ของบุคลากร สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน). วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 8(2), 61-69.

พิชิต เทพวรรณ์. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

เยาวลักษณ์ ตระกูลเมฆี และวิมล งามยิ่งยวด. (2563). ความสุขในการทำงานของบุคลากรด้านสุขภาพในโรงพยาบาลภาครัฐ 4 จังหวัดภาคใต้. Paper presented at the The 12th Hatyai National and International Conference, Hatyai University.

ลัดดาวัลย์ สำราญ และฐิติพร ภักดีวงษ์. (2562). ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทํางานและปัจจัยการรับรู้สภาพแวดล้อมในการทํางานที่ส่งผลต่อความสุขในการทํางานของบุคลากรสํานักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 23-33.

วรวรรณ ชื่นพินิจกุล. (2555). ภาวะผู้นำและรูปแบบบรรยากาศองค์กร ที่ส่งผลกระทบต่อลักษณะวัฒนธรรมองค์กรขององค์กรในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฆ, 2(2), 118-132.

วิพัฒน์ นีซัง. (2555). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการห้างหุ้นส่วน ซี. พี. เพนท์(ค้นคว้าอิสระปริญญาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุุรี.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ. (2555). คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

อารียา การดี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของและบุคลากรทางการ ศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1(วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์.

Bolboaca, S. D., & Jantschi, L. (2006). Pearson versus Spearman, Kendall’s tau correlation analysis on structure-activity relationships of biologic active compounds. Leonardo Journal of Sciences, 5(9), 179-200.

Buchanan, B. (1974). Building Organizational Commitment: The Socialization of Managers in Work Organizations. Administrative Science quarterly, 35(40), 15-20.

Diener, E. (2003). Subjective Well-Being. Psychological bulletin, 95(3), 542-575.

Huse, E. F., & Cummings, T. G. (1985). Organization Development and Change. (3rd ed.). St. Paul: West.

Kline, R. B. (2015). Principles and practice of structural equation modeling. New York: Guilford publications.

Litwin and Stringer, R. A. (1968). Motivation and Organization Climate (Boston, Division of Research, Graduate School of Business Administration). Harvard: Harvard University.

Manion, J. (2003). Joy at Work: Creating a Positive Workplace. Journal of Nursing Administration, 33(12), 652-655.

Mowday, R. T., Steers, R. M., and Porter, L. W. (1982). Employee Organization Linkages: The Psychology of Commitment, Absenteeism, and Turnover. New York: Academic.

Steers, R. M. (1991). Introduction to Organizational Behavior (4 Ed.). New York: HarperCollins.

Steers, R. M., and Porter, L. (1979). Motivation and Work Behavior. New York: McGraw-Hill.

Stringer, R. A. (2002). Leadership and Organizational Climate: The Cloud Chamber Effect. New Jersey: Prentice Hall.

Walton, R. E. (1973). Quality of Working Life: What is it?. Sloan Management Review, 4(7), 20-23.

Warr, P. (2007). Work, Happiness, and Unhappiness. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.