การศึกษาทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวันและความพึงพอใจ ต่อการจัดกิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ธนพร มนเพียรจันทร์
ศิริพร พึ่งเพ็ชร์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ 75% โดยใช้การจัดกิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้นักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านทะเมนชัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนสืบเสาะค้นคว้าหาความรู้ด้วยวิธีต่าง ๆ และสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียน ต่อการจัดกิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น มีค่าเฉลี่ย 4.55 อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวง ศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2564, จากhttps://drive.google.com/file/d/11a97xUrrRums5QAp7k-23HTCgiCQXXnB/view.

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2554). นวัตกรรมและเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

จรรยา โท๊ะนาบุตร. (2560). รูปแบบการเรียนด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E ในศตวรรษที่ 21. ลำปาง: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ชนกนันท์ วิเศษนันท์. (2558). การพัฒนาการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบวัฏจักร 5E โดยใช้บทเรียนเครือข่ายเป็นสื่อประกอบการเรียน วิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง ระบบสารสนเทศและอินเทอร์เน็ต กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2563). การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2564, จาก http://www.trueplookpanya.com/dhamma/content/82385.

นิตยา แก้วกันยา. (2555). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รายวิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐานโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5ES). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 35(3), 31-39.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

ภัทราพร มูลศาสตร์. (2546). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนและการศึกษาคุณลักษณะของผู้เรียนที่ส่งผลต่อการเรียน ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมศักดิ์ มงคลขจรกิตติ. (2558). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ใช้หลักการเรียนรู้ร่วมกันแบบสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีแบบการเรียนต่างกัน. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 10(29), 17-30.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Good, C. V. (1973). Dictionary of Education. (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, S., Tuwanno, P. D. M., Srichan, P. W., & Udomdhammajaree, P. (2022). Educational Quality Assurance and School Management Standards According to International. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 6(1), 1–16.