คุณภาพการบริการของสำนักงานประมงจังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
คุณภาพบริการมีความสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีแก่ประชาชน ดังนั้นบทความวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพการบริการของสำนักงานประมงจังหวัดระยอง และเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการบริการของสำนักงานประมงจังหวัคระยองจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้รับบริการ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานะของผู้รับบริการ และกลุ่มงานที่เข้ารับบริการ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นประชาชนผู้รับบริการที่สำนักงานประมงจังหวัคระยอง ได้แก่ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำผู้ประกอบการค้านการประมง และชาวประมง จำนวน 384 กน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) คำส่วนเบี่ยงเบนมาตร ฐาน (SD) สถิต t- test สถิติ One - way ANOVA และเปรียบเทียบรายคู่ โดยวิธี Scheffe ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณภาพการบริการของสำนักงานประมงจังหวัดระยอง โดยภาพรวมมีระดับคุณภาพการให้บริการดี เมื่อพิจารณาเป็นรายมิติพบว่า มีระดับคุณภาพการให้บริการดีทุกมิติ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ มิดิเอาใจใส่ผู้รับบริการเป็นรายบุคคล มิติความเชื่อถือไว้วางใจได้ มิติตอบสนองต่อผู้รับบริการ มิติให้ความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการ และมิติความเป็นรูปธรรมของบริการ
2. สถานะผู้รับบริการ และกลุ่มงานที่เข้ารับบริการต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริการ ของสำนักงานประมงจังหวัดระยองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระคับ 0.05 ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริการของสำนักงานประมงจังหวัดระยองไม่แตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เฉลิมพล ศรีหงษ์. (2543). ระเบียบวิธีวิจัย. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชนาธิป ครรชิต. (2559). คุณภาพการบริการของการประปาส่วนภูมิภาคคสาขาหาดใหญ่. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครรินทร์.
ณรงค์ เครือมิ่งมงคล. (2563). คุณภาพการให้บริการของสำนักงานขนส่งจังหวัดร้อยเอ็ด(วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ทศรัฐ จันยาง. (2556). คุณภาพการให้บริการของสำนักงานเทศบาลตำบลลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารเกษมบัณฑิต,14(1), 32-44.
ธธีร์ธร ธีรขวัญโรจน์. (2556). การตลาดบริการ. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพ: ส.เอเชียเพรส (1989).
นิรันดร์ อ่อนนุ่ม. (2557). คุณภาพการให้บริการของสหกรณ์การเกษตรเมืองอุบลราชธานี จำกัด. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
พงษ์เสฐียร เหลืองอลงกต. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลกับคุณภาพการบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 27(1), 78 – 90.
ไพฑูรย์ คุ้มคง. (2557). ความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี(วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
วีณารัตน์ หนูแก้ว. (2559). คุณภาพการให้บริการของสำนักงานอัยการจังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์รั{ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริพร วิษณุมหิมาชัย. (2551). การสร้างบริการเชิงรุกสู่ความเป็นเลิศ. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 21(1), 7-17.
สมิต สัชฌุกร. (2556). ศิลปะการให้บริการ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2554 ) การจัดการความรู้กับการบริหารราชการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.