การบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ มหามงคล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2

Main Article Content

สัชฌุกาญจน์ เริงโรจน์ธนากูล
ประทีป มากมิตร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจสภาพที่เป็นจริงของการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ 2) เพื่อสำรวจสภาพที่คาดหวังของการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ และ 3) เพื่อจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ รูปแบบของการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัยคือ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ มหามงคล ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 82 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.998 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความต้องการจําเป็นแบบปรับปรุง 


ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านสภาพที่เป็นจริงของการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ พบว่า อยู่ในระดับมาก 2) ด้านสภาพที่คาดหวังของการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ด้านจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนา จากค่ามากไปหาน้อย พบว่า อันดับแรก คือ ด้านระบบนำส่งสารสนเทศและการสื่อสาร อันดับสอง คือ ด้านระบบการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ทางการเรียน อันดับสาม คือ ด้านระบบสนับสนุนการเรียน อันดับสี่ คือ ด้านผู้สอนและผู้เรียน อันดับห้า คือ ด้านการบริหารจัดการด้านเนื้อหาและสื่อการเรียน  และอันดับหก คือ ด้านระบบการวัดและการประเมินผล ตามลำดับ


องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ จะช่วยในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ และวางแผนการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้อง และเป็นสารสนเทศนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การเลื่อนเวลาเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ของกระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2564จาก https://moe360.blog/2021/05/ 19/19-may-2564/

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ (2551). E-Learning องค์ประกอบของการเรียนรู้โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2564, จาก https://www.iok2u.com/index.php/article/information-technology/ 1413-e-learning-e-learning-element

เจริญ ภูวิจิตร์. (2564). การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อยางมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www.nidtep.go.th/2017/publish/doc/20210827.pdf

ชรินทร์ มั่งคั่ง และ นิติกร แก้วปัญญา. (2565). การบ่มเพาะมารยาทดิจิทัล: วิธีสอนออนไลน์เพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นพลเมืองก้าวหน้าในห้องเรียนสังคมศึกษาเสมือนจริง. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(1), 204-214.

ฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2557). อีเลิร์นนิง: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ e-Learning: from theory to practice. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้งติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2545). Designing e-Learning หลักการออกแบบและสร้างเว็บเพื่อการเรียน การสอน. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วชิรดล คำศิริรักษ์. (2563). สภาพที่เป็นจริง สภาพที่คาดหวังและความต้องการจำเป็น การบริหารจัดการโรงเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล. หนองคาย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21.

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์ และจรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของ ไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ , 14(34), 285-298.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.