การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของวัยรุ่น ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของวัยรุ่นในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มวัยรุ่น ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำนวน 400 คน ใช้วิธีคัดเลือกโดยการใช้สูตรของคอแครนในการหาขนาดตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพื้นฐาน และสถิติอ้างอิงการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis ในกรณีการวิจัยเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อการยอมรับเทคโนโลยี โดยมองภาพรวม พบว่า ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมาก 2) การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของวัยรุ่นในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ที่ประกอบด้วยปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีในทุกด้าน ได้แก่ ด้านการเข้ากันได้ ด้านประโยชน์ที่ได้รับ ด้านความง่ายในการใช้งาน ด้านทรัพยากรทางการเงิน ด้านความเสี่ยงด้านความปลอดภัย และด้านความไว้วางใจ สามารถร่วมกันเพื่อใช้อธิบายความแปรปรวนของการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของวัยรุ่นในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ได้ร้อยละ 35.6 พบว่า ปัจจัยทั้งหกด้านมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งสามารถร่วมกันพยากรณ์การยอมรับเทคโนโลยีได้เท่ากับร้อยละ 35.6 (R2=0.356) ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 64.40 เป็นอิทธิพลจากปัจจัยด้านอื่นๆ ที่ผู้วิจัยไม่ได้นำมาศึกษาในงานวิจัยนี้ ปัจจุบันเทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญในการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ ซึ่งการใช้เทคโนโลยีของผู้บริโภคมีปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ ดังนี้ ด้านการเข้ากันได้ ด้านความง่ายในการใช้งาน ด้านความไว้วางใจ ด้านความเสี่ยง และด้านความปลอดภัย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชัชพัชร์ เตชะเกษมสุข. (2564). ศึกษาการยอมรับเทคโนโลยี และการสื่อสารการตลาดดิจิทัลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรองเท้าออนไลน์ของผู้บริโภค Generation X ในเขตกรุงเทพมหานคร(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ณัฏฐนันท์ พิธิวัตโชติกุล. (2560). การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ธีรวุฒิ เอกะกลุ. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
ปณิชา นิติพรมงคล. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 946-956.
ภูมรินทร์ รุ่งรัศมีพัฒน์ และ วิชิต อู่อ้น. (2565). ปัจจัยเชิงสาเหตุของความไว้วางใจเทคโนโลยีในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อทัวร์ออนไลน์จากผู้ประกอบการธุรกิจทัวร์. วารสารศิลปการจัดการ, 6(1), 358-373.
มัสลิน ใจคุณ. (2561). การยอมรับเทคโนโลยี ความไว้วางใจ และการตลาดผ่านสังคมออนไลน์ ที่มีผลตอ่ความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก ไลฟ์ (Facebook LIVE) ของกลุ่มผู้บริโภค Generations X, Y, Z. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
ศานิต ธรรมศิริ, ภคพร ผงทอง และ ชัยวัสส์ ติวสร้อย. (2565). เทคโนโลยีบริหารจัดการวัสดุหมุนเวียนในงานโลจิสติกส์และซัพพลายเชน กรณีศึกษาธุรกิจพาเลทให้เช่า. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 364-379.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2556). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและเซเท็กซ์.
Davis, F. D., Bagozzi, R. P., & Warshaw, P. R. (1989). User Acceptance of Computer Technology: A Comparison of Two Theoretical Models. Journal of Management Science, 35(8), 982 – 1003.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing Management. (15th ed.). Singapore: Pearson.
Ooi, K. B., & Tan, G. W. H. (2016). Mobile Technology Acceptance Model: An Investigation Using Mobile Users to Explore Smartphone Credit Card. Journal of Expert Systems with Applications, 59, 33–46.