ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงาน ฝ่ายซ่อมบำรุงของบริษัทในเขตนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง

Main Article Content

อดิศร สุขเกษม
ฐนันวริน โฆษิตคณิน
ชนิดาภา ดีสุขอนันต์

บทคัดย่อ

ปัจจัยทางด้านการบริหารจัดการองค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์ประกอบในเรื่องของ “คน” ถือเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่ามากที่สุดขององค์กร บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงานฝ่ายซ่อมบำรุงของบริษัทในเขตนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัย คือ สถานประกอบการที่เปิดทำการอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานฝ่ายซ่อมบำรุงของบริษัทในเขตนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง จำนวน 400 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบสูตรของ Taro Yamane เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์เชิงอนุมาน ผลการวิจัยพบว่า


 ปัจจัยจูงใจ ได้แก่ ความสำเร็จในการทำงานมีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงานฝ่ายซ่อมบำรุงของบริษัทในเขตนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดระยองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ปัจจัยค้ำจุน ได้แก่ ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน (r = 0.57) ความมั่นคงในการทำงาน (r = 0.64) วิธีการปกครองบังคับบัญชา (r = 0.68) ความเป็นอยู่ส่วนตัว (r = 0.68) และนโยบายขององค์กร (r = 0.67) มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงานฝ่ายซ่อมบำรุงของบริษัทในเขตนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดระยองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01


การบริหารงานบุคคลแรงจูงใจในการทำงานมีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงาน โดยองค์ประกอบของแรงจูงใจในการทำงาน ซึ่งองค์ประกอบของแรงจูงใจในการทำงาน ได้แก่ ปัจจัยจูงใจและปัจจัย ค้ำจุน ส่วนความจงรักภักดีต่อบริษัทของพนักงาน แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพฤติกรรมที่แสดงออก ด้านความรู้สึกและด้านการรับรู้ โดยจากการศึกษา พบว่า ด้านพฤติกรรมที่แสดงออกมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กริช ปัณฑพลังกูร. (2555). พนักงานกับความผูกพันต่อองค์กร. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัชพร มานะกิจ. (2561). แรงจูงใจที่มีผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์การของพนักงานธุรกิจค้าปลีกสินค้าอุปโภคและบริโภคในรูปแบบซูเปอร์มาร์เก็ต(วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

นริศ กระชังแก้ว. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีในองค์กรของพนักงานบริษัทประกันวินาศภัยแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปชานนท์ ชนะราวี. (2556). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริม.

พัชรินทร์ รอดพยันตร์. (2559). การพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ: วิวัฒน์เอ็ดยูเคชั่น.

พิมลพรรณ เชื้อบางแก้ว. (2550). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 9). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พูลสุข สังข์รุ่ง. (2550). มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ. กรุงเทพฯ: บี เคอินเตอร์ ปริ้นท์.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2558). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2550). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาส์น.

วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2558). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: มาร์เก็ตติ้งมูฟ.

สำนักงานสถิติจังหวัดระยอง. (2564). รายงานสถิติจังหวัดระยอง. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2564, จาก http://rayong.nso.go.th.

Herzberg, F. (1959). The Motivation to Work. New York: John Wiley.

Hoy, K. & Rees, R. (1974). Subordinate Loyalty to Immediate Superior: A Neglected Concept in the Study of Educational Administration. Sociology of Education, 47, (2), 268-286.