ทักษะการบริหารสถานศึกษาในภาวะวิกฤติของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของทักษะการบริหารสถานศึกษาในภาวะวิกฤติ ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง และ 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของทักษะการบริหารสถานศึกษาในภาวะวิกฤติ ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง รูปแบบการวิจัยเป็นเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง จำนวน 108 แห่ง โดยมีผู้ให้ข้อมูล คือ ครู รวมทั้งหมด 216 คน สำหรับการกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครซีและมอร์แกน โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม โดยผู้วิจัยได้กำหนดผู้ให้ข้อมูล คือ ครูจากสถานศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างแห่งละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 216 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามข้อมูลโดยใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของทักษะการบริหารสถานศึกษาในภาวะวิกฤติ ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ และความคิดสร้างสรรค์ และการปรับตัว มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2) ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นของทักษะการบริหารสถานศึกษาในภาวะวิกฤติ ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยทักษะการแก้ปัญหา และความรับผิดชอบของผู้นำ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ทักษะการสื่อสาร และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรรณิกา เรดมอนด์. (2559). ตัวบ่งชี้ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.
ไกรศร เจียมทอง. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทนากร ศรีก๊อ. (2563). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาในภาวะวิกฤติของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 1. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 20(3), 75-87.
พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2560). ทักษะการบริหารของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
แพรดาว สนองผัน. (2557). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิจารณ์ พานิช. (2556). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพ: ตถาตา.
ศศิตา เพลินจิต. (2558). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. อ่างทอง: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. (2564). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. อ่างทอง: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง.
เสาวภา พรเสนาะ. (2556). การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
Coleman, L. A. (2008). The Role of School Administrator as Knowledge Manager. New Jersey: Princeton University Press.
Kindred, L. (1975). School public relation. New Jersey: Prentice-Hall.
Katz, R. L. (1971). Skills of an Effective Administrator. Harvard Business Review, Executive Success Making it in Management. Massachusetts: University Press Cambridge.