ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี

Main Article Content

ปรียานุช ธะนะฉัน
นิพนธ์ วรรณเวช
สาโรจน์ เผ่าวงศากุล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี จำนวน 312 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงอยู่ระหว่าง 0.67–1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า


1. สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี ในภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก


2. การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี ในภาพรวมในภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก


3. ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลพัชร หินแก้ว. (2555). สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาเอกชนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). การปฏิรูปการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

จิรพิพรรธ ธรรมแท้ และวรกาญจน์ สุขสดเขียว. (2559) การบริหารวิชาการที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 6(2), 29-42.

ธีระ รุญเจริญ. (2555). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา ยุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรุง). (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

บรรลุ ชินน้ำพอง และวัลลภา อารีรัตน์. (2556). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(1), 92-103.

ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2550). การจัดและการการบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

วาสนา ดิษฐ์ประดับ, นุชนรา รัตนศิระประภา. (2565). การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 5(1),79-92.

ศรีนภา ฉิมเฉย และ สายสุดา เตียเจริญ . (2559). สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 7(1), 109-123.

สมบูรณ์ บูรศิริรักษ์. (2564). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 11(2), 83-95.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2563-2564) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8. ราชบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2557). ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556 และประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่องสาระความรู้ สมรรถนะและประสบการณ์ของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

หทัยพัชร ทองเดช. (2560). การศึกษาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสหวิทยาเขตบูรพาสระบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อภิรัตน์ ช่างเกวียน และ มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2565). บทบาทผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 5(1), 94-108.

อัจฉรา นิยมาภา. (2561). การพัฒนาตัวชี้วัดสมรรถนะภาวะผู้นำทางวิชากรของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 24(1), 50-63.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Lunenburg, F. C., & Ornstein, A. C. (2012). Educational Administration: Concepts and Practices. (6th ed.). California: Wadsworth Cengage Learning.

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, S., Tuwanno, P. D. M., Srichan, P. W., & Udomdhammajaree, P. (2022). Educational Quality Assurance and School Management Standards According to International. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 6(1), 1–16.

Yukl, G.A. (2013). Leadership in Organizations. (8th ed.). New York: Prentice-Hall.