การพัฒนารูปแบบการโค้ชโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูภาษาไทย ในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10

Main Article Content

ขวัญเกื้อ แสงแก้ว

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการโค้ช เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 2) พัฒนารูปแบบการโค้ชโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูภาษาไทย ในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 3) ศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการโค้ชโดยผู้เชี่ยวชาญ ด้านสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูภาษาไทย และด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการจัดการเรียนการรู้เชิงรุก ของครูภาษาไทยที่ได้รับการโค้ชโดยผู้เชี่ยวชาญ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี พื้นที่วิจัย คือ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 กลุ่มเป้าหมายเป็นครูภาษาไทยที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งไม่เกิน 5 ปี จากสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 จังหวัดสมุทรสาคร ได้มาด้วยการสมัครใจ จำนวน 12 คน และผู้เรียนที่ครูภาษาไทยกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สอน จำนวน 438 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่มย่อย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูยังขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการนำหลักสูตรสู่ชั้นเรียน การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ และเทคนิคการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) รูปแบบที่พัฒนาคือการโค้ชโดยผู้เชี่ยวชาญ รูปแบบพีโอซีอาร์ 3) ประสิทธิผลรูปแบบการโค้ชโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


 ข้อค้นพบจากงานวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูภาษาไทย และครูกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จริยา แตงอ่อน. (2559). รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จินตนา ศิริธัญญารัตน์ และวัชรา เล่าเรียนดี. (2562). การออกแบบระบบการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนวัฒน์ ศรีไพโรจน์. (2561). อิทธิพลของโปรแกรมการโค้ชการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีต่อสมรรถนะของครูผู้สอนเพื่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียน(วิทยานิพนธ์วิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นนทลี พรธาดาวิทย์. (2561). การจัดการเรียนรู้ แบบ Active learning (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น .

นันทกา วารินิน. (2557). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

บุษราคัม ศรีจันทร์. (2560). รูปแบบการโค้ชทางปัญญาแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนของครูที่ส่งเสริม Metacognition ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9(1), 100-115.

พรทิพย์ แข็งขัน และคณะ. (2555). โมดูล 1 วิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้หลักการใช้ภาษาไทย ในชุดฝึกอบรมภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มุกดามณี ศรีพงษ์เลิศ. (2561). ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูประถมศึกษาจังหวัดประทุมธานี(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช: การพัฒนาวิชาชีพ ทฤษฎี กลยุทธ์สู่ การปฏิบัติ(พิมพ์ครั้งที่ 12). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2558). การโค้ชเพื่อการรู้คิด ฉบับปรับปรุง. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

สมพงษ์ เกษมสิน. (2549). การบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สมศักดิ์ จี้เพ็ชร์ (2562). การพัฒนาคุณภาพครูโดยการนิเทศแบบสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงโรงเรียนมหาสวัสดิ์ (ราษฎรบำรุง). วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 15(2), 165-184.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2553). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Costa, A. L., & Garmston, R. J. (2002). Cognitive Coaching Foundation Seminar Learning Guide.

(5th ed.). Corel: Center for Cognitive Coaching.

Kruse, K. (2007). Instruction to Instructional Design and the ADDIE Model. Retrieved 19 June 2007. from http: www.e-learningguru.com/articles/art1_1.htm

Sweeny, B. W. (2007). Leading the Teacher Induction and Mentoring Program. (2nd ed.). USA: Corwin.