การพัฒนาสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านจับใจความสำคัญภาษาไทย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความสำคัญภาษาไทย
แบบร่วมมือเทคนิค CIRC นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนและก่อนเรียน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 4) ศึกษาระดับความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เทคนิค CIRC กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 33 จังหวัดลพบุรี ได้จากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 20 คน เครื่องมือในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน7 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านจับใจความสำคัญภาษาไทยแบบปรนัย
4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบประเมินความพึงพอใจแบบประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 16 ข้อ สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และค่า t-test Dependent Sample และ One Sample ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC 4 ขั้นตอน คือ 1) นำเสนอบทเรียน 2) ฝึกทำงานเป็นทีม 3) ทดสอบ 4) ความสำเร็จของกลุ่ม เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ โดยมีค่าคะแนนการจัดกิจกรรมเฉลี่ย 24.07 ( = 24.07, S.D. = 1.77
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 72, S.D. = 0.48)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกวรรณ ภู่ทิม. (2560). ความสามารถในการอ่านจับใจความและการเขียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับการสอนอ่านแบบปฏิบัติการ(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. นนทบุรี : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จำกัด
กุสาวดี คุณแก้ว. (2561). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องอ่านเขียนอย่างเข้าใจ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ ร่วมมือเทคนิค ซี.ไอ.อาร์.ซี (CIRC) ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านและการเขียนสื่อความภาษาไทย วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 16(1), 175-187.
ธิดา ทิพย์สุข. (2552). การพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการ สื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน
ผกาวรรณ สุวรรณภูมานนท์. (2560). การศึกษาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์และการเขียนภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC. วารสารราชพฤกษ์, 15(3), 1-9.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2548). เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้สำหรับครูมืออาชีพ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2545). หลักและวิธีการสอนอ่านภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
Johnson, D. W., & Johnson, R. T. (1991). Cooperative Learning Increasing College Faculty Instructional Productivity. Higher Education Report No. 4. Washington D.C.: The George Washington University.