การพัฒนาผลิตภัณฑ์เตยหนามจักสาน จังหวัดยะลา ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์
คำสำคัญ:
ออกแบบผลิตภัณฑ์, เตยหนามจักสาน, จังหวัดยะลา, เศรษฐกิจสร้างสรรค์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาอัตลักษณ์ยะลา และเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เตยหนามจักสาน จังหวัดยะลา ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ลักษณะเป็นงานวิจัยและพัฒนา โดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มการปฏิบัติการพัฒนา และการสัมภาษณ์เจาะลึกจากกลุ่มเป้าหมาที่ศึกษาทั้งกลุ่มผู้ผลิต คนกลาง ลูกค้า และผู้ทรงคุณวุฒิด้านงานออกแบบหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1) อัตลักษณ์จังหวัดยะลาที่ได้รับการคัดเลือกพัฒนาผลิตภัณฑ์เตยหนามจักสานมีดังนี้ นกเงือก เงาะป่าซาไก ดอกดาหลา ผังเมืองใยแมงมุม ดอกพิกุล สกายวอล์กอัยเยอร์เวง ส้มโชกุน กล้วยหิน ตู้ไปรษณีย์เบตง และทุเรียนมูซันคิง 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์เตยหนามจักสาน จังหวัดยะลา ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยทำการพัฒนากระเป๋า เตยหนามจักสานอัตลักษณ์จังหวัดยะลาตามแผนที่วางไว้รวม 10 ผลงาน และเผยแพร่ผลงานดังกล่าว ผ่านสื่อออนไลน์ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านสันติภาพวังพญา และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสันกาลาคีรี ภายใต้แนวคิด “Soft Power : Yala Identity Bags” โดยภายหลังการดำเนินงาน ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสันติภาพวังพญา และประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องหนัง สันกาลาคีรี ต่างมีความพึงพอใจระดับมากในความรู้ที่ได้รับจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์เตยหนามจักสานอัตลักษณ์ยะลา รวมถึงการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ที่สามารถสร้างการรับรู้ได้อย่างรวดเร็ว มียอดผู้ชมหรือยอดวิวเพิ่มขึ้น รวมถึงมียอดขายกระเป๋าเตยหนามจักสานเพิ่มขึ้นจากเดิม 25%
References
Atthasak, N. (2015). Factors Influencing on Buying Decision towards Women’s Brand Name Footwear and Bags via online Shopping. Bangkok : Bangkok University.
Chamnian, M. (2021). Community Product Identity to Build and Communicate Brand: A Case Study of Ramtone Nokphithid Performance. Ratchaphrue Journal, 19(2), 1-12.
Chollatep, N. (2013). Application of Creative Economy Concept of Small Enterprises Agro-Industry Entrepreneurs in Chiang Mai Province. Chiang Mai University.
E-sor, A., Namburi , N., Promsriya, U., Benna, N., & Sriaremhad, Y. (2022). The Product’s Identity Development for Pandan Weave Network, Yala Province via Creative Economy Concept. Yala : Yala Rajabhat University.
Khunpol, S. (2015). The Study of Cultural dentity in Beliefs of Kohyor Community. Parichart Journal, Thaksin University (Special edition), 28(3), 82-103.
Kotler, P. (2021). Marketing Management. 16th ed. New Jersey : Prentice-Hall International Inc.
Institute of Small and Medium Enterprise Development. (2012). 20 Creative Identities. Pathum Thani: Institute of Small and Medium Enterprise Development.
Rungrangphon, W. (2020). Principles of Marketing. 10th ed. Bangkok : Thammasat University.
Santitham, V. (2022). Soft Power – Power of Creativity. Research Review Article, Research and Development Group, The Secretariat of the House of Representatives. 27(4) : 1-17.
Office of the Royal Society. (2007). Identity. Retrieved January 30, 2024 from https://shorturl.asia/ym92z
Tongbai, K., Esichaikul, R., Rungruangkulkit, W., Chunhapuntharuk, C. & Chansawang, R. (2018). An implementation of business cluster concept: A case study of The Gift and Decorative Industry Club, The Federation of Thai Industries. Electronic Journal of Open and Distance Innovative Learning, 8(2), 26-39.
Vorravongpitak, J., E-sor, A., Chankaew, N., & Mamah, L. (2022). The Development of Local Herb Products, According to the Creative Economy Concept, of Piyamit Tunnel 1 Community, Betong District, Yala Province, Thailand. Academy of Entrepreneurship Journal, 28(S2), 1-9.
Waijittragum, P. (2016) . Brand Identity Creation for Thai Halal Products. Art and Architecture Journal Naresuan University, 7(1), 95-107.
Yodkaew, P. (2022). Creative Economy Concept and Creative Product Development of Lao Khrang Ethnic Group in Nakhon Pathom Province. The 14th NPRU National Academic Conference, 7-8 July 2022, 2873-2886.
UNCTAD. (2008). Creative Economy Report 2008. Retrieved January 30, 2021 from https://shorturl.asia/rU6EZ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว