การออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากขยะพลาสติกรีไซเคิล

ผู้แต่ง

  • มินัณยาร์ เพ็ชรสุด สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ชลธิดา เกษเพชร สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

ขยะพลาสติก, รีไซเคิล, ผลิตภัณฑ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “การออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากขยะพลาสติกรีไซเคิล” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์คุณสมบัติและประเภทของขยะพลาสติก เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์จากขยะพลาสติกและเพื่อประเมินความพึงพอใจผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์จากขยะพลาสติก โดยการเก็บข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
จากการศึกษาข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามผู้วิจัยพบว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์จากขยะพลาสติกโดยออกแบบให้ตอบโจทย์กับกลุ่มผู้บริโภคคือมีความทันสมัยเรียบง่าย โดยผู้วิจัยได้เลือกใช้งานพลาสติกชนิด โพลิเอทธิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE) เบอร์2 และโพรพิลีน (PP) เบอร์ 5 ออกแบบรูปแบบของชิ้นงานพลาสติกให้เป็นชิ้น โดยมีลักษณะรูปทรงตัว M และตัว i ซึ่งเป็นตัวอักษรที่ประกอบอยู่ในชื่อแบรนด์ Mia compassion จากนั้นจึงมาร้อยต่อกันเพื่อสร้างลายเอกลักษณ์เฉพาะสำหรับแบรนด์ ผู้วิจัยเลือกวิธีการจัดการกับวัสดุด้วยเครื่องอัดความร้อน จนได้แผ่นพลาสติกตามความหนาและสีที่ตามต้องการ จากนั้นจึงนำมาเข้ากระบวนการฉลุเป็นชิ้นตามแบบ แล้วนำมาร้อยต่อกันเป็นกระเป๋า 4 รูปแบบ โดยมีการใช้วัสดุเสริมเป็นห่วงสแตนเลสกลมและสายโลหะ เพื่อการใช้งานที่คงทน และยกระดับขยะพลาสติก ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าและดูสวยงาม ในส่วนของตราสัญลักษณ์ออกแบบในรูปแบบตราสัญลักษณ์ประเภทlogotype ให้เรียบง่าย ทันสมัย และนำเสนอถึงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
สรุปผลการประเมินความพึงพอใจในการออกแบบผลิตภัณฑ์จากขยะพลาสติก มีความพึงพอใจในด้านการออกแบบอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากเมื่อพิจารณารายละเอียดพบว่าในด้านความคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับ   ดีมาก ค่าเฉลี่ย 4.60 (S.D.=0.60) ในด้านรูปแบบของพลาสติก พบว่า ความพึงพอใจรวมอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก ค่าเฉลี่ย 4.54 (S.D.=0.60) และความพึงพอใจด้านการออกแบบตราสัญลักษณ์พบว่าความพึงพอใจรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ค่าเฉลี่ย 4.68 (S.D.=0.47)

References

Arunsrimrakot, S. (2020). The Study of Recycle Process of Plastic Bottle and TextuThe Study of Recycle Process of Plastic Bottle and Texturing Process by Integration with Debris Netting, Rope, Nets and Foam Buoy ring Process by Integration with Debris Netting, Rope, Nets and Foam Buoy. Burapha Arts Journal, 22(2), 90–103. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/buraphaJ/article/view/241940

Kwansuwan, W. (2020). Creating added value from waste materials into design products: Decoration and fashion: Khao Rup Chang Municipal Model Community. Faculty of Architecture, Rajamangala University of Technology Srivijaya.

National Council for Higher Education, Science, Research and Innovation Policy. (2019). Model Economy BCG. Pathum Thani: Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. Retrieved on December 27, 2020, from https://www.bcg.in.th.

Plastic. (n.d.). Bangkok: Environmental Monitoring and Evaluation Division. Retrieved on December 27, 2020, from http://env_data.onep.go.th.

Pollution Control Department. (2018). Dealing with plastic waste. Bangkok: Ministry of Natural Resources and Environment. Retrieved on December 27, 2020, from https://www.pcd.go.th/wp-content.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28