กระบวนการศึกษาการสร้างสรรค์ผลงาน Momentarily “ชั่วขณะหนึ่ง”

ผู้แต่ง

  • วิชัย โยธาวงศ์ คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • ณัฐกมล ถุงสุวรรณ คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

ทัศนธาตุทางศิลปะ, ดิจิทัลคอลลาจ, ศิลปะแห่งการดำดิ่ง

บทคัดย่อ

กระบวนการศึกษาการสร้างสรรค์ผลงาน Momentarily “ชั่วขณะหนึ่ง” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการศึกษาแนวคิดและทดลองสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงออกถึงในสภาวะไร้การควบคุมผ่านรูปแบบงานศิลปะดิจิทัล 2) เพื่อการวิเคราะห์ผลงานที่สร้างสรรค์ด้วยทัศนธาตุทางศิลปะที่สื่อและแสดงถึงแนวความคิดผ่านรูปแบบและเทคนิค และ 3) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบงานจิตรกรรม 2 มิติ ที่สร้างสรรค์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในรูปแบบดิจิทัลคอลลาจ (Digital Collage) ในการสื่อสารแนวความคิดและความงาม วิธีดำเนินการวิจัยโดยการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และผลงานที่กี่ยวข้อง รวมถึงการสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะ โดยผลการวิจัยได้ออกมาเป็นผลงานในรูปแบบงานจิตรกรรม 2 มิติ ในรูปแบบดิจิทัลคอลลาจ (Digital Collage) ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากรูปที่ได้เตรียมไว้และนำไปทดลองทำต่อในรูปแบบของภาพเคลื่อนไหว การวิเคราะห์ตัวผลงานด้วยหลักองค์ประกอบศิลป์ ทฤษฎีศิลป์ด้วยทัศนธาตุ (Visual Elements) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างบรรยากาศสมมุติโดยใช้โครงสีเอกรงค์ (Monochrome) ผสานกับรูปทรงที่เลือกนำมาใช้ในการสื่อสารแนวความคิดและวิเคราะห์นามธรรมที่แฝงในตัวงานที่เสร็จสมบูรณ์ที่สามารถสื่อสารแนวความคิดและสร้างการรับชมที่แปลกใหม่ การประเมินผลงานที่สามารถสื่อสารแนวความคิดและรูปแบบการนำเสนอผลงานด้วยเทนนิคการทำงานที่แตกต่าง สามารถสื่อสารความหมายแนวความคิดและเนื้อหาที่แฝงในเชิงสัญลักษณ์คติทางเทวนิยมที่เลือกมาใช้เสนอทางความเชื่อที่แสดงออกได้มาซึ่งรูปแบบในการสร้างสรรค์ผลงาน Momentarily “ชั่วขณะหนึ่ง” และมีการต่อยอดผลงานศิลปะเพื่อนำเสนอผลงานผ่านการสื่อสารในแบบ Immersive Art หรืองานแสดงศิลปะแบบดำดิ่ง ซึ่งเป็นการนำเสนองานในรูปแบบที่ทำให้ผู้ชมเข้าถึงงานศิลปะได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น อันจะเป็นแนวทางในการพัฒนาตัวผลงานและรูปแบบการสร้างผลงานและนำเสนอผลงานสื่อสร้างสรรค์แนวคิดและรูปแบบที่ผู้ชมสามารถสัมผัสประสบการณ์ได้แตกต่างออกไปต่อไป

References

Achitphorn, P. (2022). Salvador Dali: An artist who awakens the surrealism of the subconscious into artworks. Retrieved January 11, 2024, from https://shorturl.asia/uMbtA

Bunyan, A. D. M. (2017, November 12). Magritte and the cinema – Art Blart _ art and cultural memory archive. Art Blart _ Art and Cultural Memory Archive. Retrieved January 11, 2024, https://artblart.com/tag/magritte-and-the-cinema/

Busakorn, B. (2022). Understanding Immersive Art: Vibrating or promoting art?. Retrieved. January 11, 2024, from https://www.creativethailand.org/article-read?article_id =33497

Chalood, N. (2010). Elements of Art. Bangkok: Amarin Printing and Publishing.

Six Facets Press. (2019). Sigmund Freud's Psychoanalytic Theory: The Father of Psychoanalysis. Retrieved January 3, 2024, from https://shorturl.asia/KfImW

Sodsuen, C. (1996). Psychological and aesthetic realism literature in Thailand B.E. 2507-2527. Bangkok: Dan Su Thara Printing Company Limited.

Somyos Naveekran. (2018). Review: Malcolm Gladwell: David and Goliath, from. Retrieved January 3, 2024, http://www.inewhorizon.net/aa11/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28