แนวทางการออกแบบต้นแบบบรรจุภัณฑ์เอกลักษณ์สินค้าไทย เพื่อส่งเสริมการขายของที่ระลึก 4 ภาค โดยใช้ทุนวัฒนธรรม
คำสำคัญ:
ทุนวัฒนธรรม, ตราสินค้า, บรรจุภัณฑ์ของที่ระลึก, เอกลักษณ์สินค้าไทยบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและหาแนวทางในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าสินค้าไทยเพื่อสนับสนุนของที่ระลึก 4 ภาค โดยใช้ทุนวัฒนธรรม ลงพื้นที่เก็บข้อมูลกับคนในพื้นที่เป็นนักท่องเที่ยวและสนใจในการเก็บของสะสมของที่ระลึก ช่วงอายุระหว่าง 21-35 ปี จำนวน 50 คน นำแนวคิดทุนวัฒนธรรมพบว่า ประเทศไทยมีการแสดงอัตลักษณ์ของภูมิภาค ผ่านลวดลาย วัสดุพื้นถิ่น วัฒนธรรมการกิน รวมถึงดนตรีพื้นบ้าน ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ อีกทั้งแต่ละภาคยังมีความหลากหลายของชนชาติร่วมกันเป็นรูปแบบวิถีชีวิตของชาวไทยที่อาศัยอยู่ร่วมกันมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน การเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ พบว่า 1) ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของสินค้าตัวแทนทางทุนวัฒนธรรรมไทย สอดคล้องกับพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของที่ระลึก ควรนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับลวดลายกราฟิกของทุนทางวัฒนธรรมการสานของ 4 ภูมิภาค คือ การกินข้าวเหนียวในกระติ๊บที่ภาคอีสาน การทอผ้าภาคที่ภาคเหนือ การร้อยลูกปัดมโนราห์ที่ภาคใต้ วิถีการทานขนมหวานที่ภาคกลาง 2) สร้างต้นแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ที่มีความร่วมสมัยจากของดีขึ้นชื่อและวิถีชีวิตพื้นถิ่น หาความพึงพอใจด้านการออกแบบรูปลักษณ์โครงสร้างบรรจุภัณฑ์ จากแบบสอบถาม จำนวน 100 คน พบว่า ลวดลายบนบรรจุภัณฑ์เหมาะสมกับของที่ระลึกอยู่ในระดับมาก โครงสร้างและกราฟิกแสดงความเป็นตัวแทนที่สื่อความเป็นทุนทางวัฒนธรรมอยู่ในระดับมาก (ภาคเหนือ ค่าเฉลี่ย 4.15 (S.D. = 29.9), ภาคใต้ มีค่าเฉลี่ย 4.13 (S.D. = 27.0), ภาคอีสาน มีค่าเฉลี่ย 4.10 (S.D. = 29.1), ภาคกลาง มีค่าเฉลี่ย 4.00 (S.D. = 26.0) ตามลำดับ) การใช้สีเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ภาคเหนือ มีค่าเฉลี่ย 4.25 (S.D. = 22.7), ภาคอีสาน มีค่าเฉลี่ย 4.23 (S.D. = 21.6), ภาคกลาง มีค่าเฉลี่ย 4.15 (S.D. = 22.5), ภาคใต้ มีค่าเฉลี่ย 4.05 (S.D. = 26.1) ตามลำดับ) ลวดลายบนบรรจุภัณฑ์มีเหมาะสมกับความเป็นของที่ระลึก 4 ภาคอยู่ในระดับมาก (ภาคเหนือ มีค่าเฉลี่ย 4.2 (S.D. = 21.4), ภาคใต้ มีค่าเฉลี่ย 4.14 (S.D. = 20.9), ภาคอีสาน มีค่าเฉลี่ย 4.25 (S.D. = 22.4), ภาคกลาง มีค่าเฉลี่ย 4.20 (S.D. = 26.4), ตามลำดับ)
References
Apichat Kampoomprasert. (2015). Social Capital and Cultural Capital in Ranong Province: Research and Development Institute, Suan Sunandha Rajabhat University.
Khwanchai Sukkon. (2017). A Study of the Influence of Graphics on Roasted Coffee Packaging on Consumers' Purchase Decision: Suan Sunandha Rajabhat University.
Kapferer, J.-N. (2008). The new strategic brand management: creating and sustaining brand equity long term. London: Kogan Page.
Patinya Sang-aroon, Sethakarn Prongnuch and Suchada Sitjongsataporn, (2021). “Agile Development and Efficiency Validation of Internet of Things Platform for Packaging Structure Design.” 2021 The 2017 International Electrical Engineering Congress (iEECON2017), pp.391,393, 8-10 Mar. 2017.
Pensri Charoenwanich, and Nitiphon Phutachote. (1998). Development of ecotourism marketing in the region. Northeast: Case studies in 5 provinces: Nakhon Ratchasima Buriram Loei and UbonRatchathani. Khon Kaen
Wittawat Chaipani et al. (2003). Building a brand. Bangkok: Tipping Point Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว