การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากฟางข้าว ด้วยกระบวนการ BCG
คำสำคัญ:
ผลิตภัณฑ์จากฟางข้าว, กระบวนการ BCG, การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, การสร้างสรรค์บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากฟางข้าวด้วยกระบวนการ BCG เป็นการนำเสนอผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากฟางข้าวด้วยกระบวนการ BCG เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานใช้การวิจัยแบบประยุกต์ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการทางคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ควบคู่กับข้อมูลทางสถิติ จากแบบสอบถามและแบบประเมินผลการพัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์
ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากฟางข้าวด้วยกระบวนการ BCG สามารถนำมาประยุกต์ได้ใช้กับผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบได้แก่ จุดหมายตา กระถาง ดอกไม้จันทน์ ภาชนะ และบรรจุภัณฑ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้วัสดุและเทคนิคการผลิตที่แตกต่างกัน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสูงเนื่องจากส่วนประกอบหลักผลิตจากวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ ผลการประเมินการพัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์พบว่า ความเป็นไปได้ในการผลิตเองในพื้นที่ มีค่าความคิดเห็นเฉลี่ย 4.78 อยู่ในเกณฑ์ที่มีความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด รองลงมาเป็นการเลือกใช้วัสดุร่วมจากธรรมชาติในท้องถิ่น มีค่าเฉลี่ย 4.59 ความเหมาะสมของการนำผลิตภัณฑ์จากฟางข้าวไปใช้ประโยชน์ ค่าเฉลี่ย 4.52 รูปแบบของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เหมาะสม ค่าเฉลี่ย 4.47 และการสร้างมูลค่า เพิ่มโอกาสการจำหน่ายสินค้าที่พัฒนาขึ้น มีค่าเฉลี่ย 4.38 ตามลำดับ โดยผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้บริโภค พบว่าอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.54) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.47) นอกจากนั้นผู้วิจัยได้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากฟางข้าวให้ชุมชุมอันจะนำไปสู่การสร้างรายได้ในอนาตคต่อไป
References
Aungkab Sakdee. (2010). Design and Development the Furniture Product Straw from Padder Fied. Faculty of Industrial Technology Academic Journal Lampang Rajabhat University: Year 3, Issue 1, April - September 2010.
American Society for Testing and Materials. (2001). ASTM D2166 Standard Test Method for Unconfined Compressive Strength of Cohesive Soil. Annual Book of ASTM Standard. Vol. 04.08, Philadelphia: USA.
N Soodsang. (2014). [Industrial product design (2th ed.)]. Bangkok: Odeon Store.
OKMD Office of Knowledge Management and Development (Public Organization). (2021, August 17). New trend for environmentally friendly people. OKMD. Retrieved November 23, 2021.
Office of Agricultural Economics No. 2. (2022). Agricultural economic situation in 2022 and trends in 2023. Uttaradit Province.
Office of Forest Research and Management and Forest Products, Royal Forest Department, Ministry of Natural Resources and Environment, (2019).
Office of the Permanent Secretary, Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation (2022) Guidelines for implementing the project to drive the economy and society after Covid with the BCG economy, June 2022.
Office of the Secretary of the Pollution Control Department Ministry of Natural Resources and Environment. (2019). Annual report 2018, Pollution Control Department. 1st ed.)]. Bangkok: HE'S.
Porntep Patananurak et al. (2019). Executive Summary Report a Survey of Client s’ Satisfaction with Service Deliveries by PAK KRET Municipality in 2019.
Sirinthorn Sinjindawong. (2021). Knowledge and wisdom according to the potential of the Aging. (pp. 1770-1779). Research and Innovation towards Sustainable Development from National and International Academic Conferences (16th ed.)]. Bangkok: Sripatum University.
Tawarat Treeamnuk et al. (2008). Utilization of Rice Straw: A Case Study of Packaging for Agricultural Products. (Research report Suranaree University of Technology).
Thanin Silpcharu. (2008). [Research and statistical analysis using SPSS (9th ed.)]. Bangkok: R&D BUSINESS.
Wananpa Arbsuwan et al. (2020). The Study on Optimum Conditions in Coating Rice Straw laminated Paper for Inventive Craft Products. (pp. 1128-1135). Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว