การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกตุ๊กตาดินเผาจากศิลปะสมัยทวารวดี
คำสำคัญ:
ของที่ระลึก, ตุ๊กตาดินเผา, ศิลปะสมัยทวาราวดีบทคัดย่อ
ศิลปะยุคทวาราวดีเป็นต้นกำเนิดงานพุธศิลป์ เป็นอารยธรรมที่รุ่งเรื่อง ดังจะเห็นได้จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ด้านต่าง ๆ หนึ่งในชิ้นงานประติมากรรมที่โดดเด่น คือ รูปปูนปั้นสตรีเล่นดนตรี 5 ท่าน จึงทำให้ผู้วิจัยเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างงานประติมากรรมขึ้นมา ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกตุ๊กตาดินเผาจากศิลปะสมัยทวารวดี และเพื่ออนุรักษ์ศิลปะสมัยทวารวดีให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา โดยถ่ายทอดผ่านกรรมวิธีการผลิตทางเครื่องเคลือบดินเผาในปัจจุบัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะจำนวน 5 ท่าน เพื่อให้ความคิดเห็น ทางด้านความงาม องค์ประกอบศิลป์ ทัศนธาตุต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานประติมากรรม ผลการวิจัยพบว่าวัตถุดิบ คือ ดิน 3 ชนิด ได้แก่ ดินบ้านด่านเกวียน 50% ดินบ้านดอนเสลา 30% และดินขาวลำปาง 20% ในด้านการผลิต วัสดุทำพิมพ์ต้นแบบ คือ วัสดุดินน้ำมันและขี้ผึ้ง เทคนิคทำพิมพ์สำหรับอัดดิน ใช้วิธีการทำพิมพ์แบบประกบ 2 ชิ้น ประกบหน้าหลัง ตามกรรมวิธีการผลิตตุ๊กตาดินเผาแบบโบราณ การตกแต่ง ใช้วิธีการตกแต่งดินด้วยวิธีการขุด การขูด ขีด การถากและการปั้นแปะเพิ่มเติม การเผา เผาด้วยเตาไฟฟ้าในบรรยากาศการเผาแบบสมบูรณ์ ไม่ใช่เคลือบที่อุณหภูมิ 1200 องศาเซลเซียส การออกแบบตุ๊กตาดินเผาทวารวดีได้นำเอาลักษณะของสตรีในสมัยทวารวดีมาจากภาพปูนปั้นและตุ๊กตาดินเผาต่าง ๆ โดยการออกแบบได้ ตัดทอน เพิ่มเติมเครื่องประดับอาภรณ์ต่าง ๆ ตลอดจนทรงผมที่ปรากฏอยู่บนหลักฐานในโบราณวัตถุนั้น ๆ
References
bundanthai. (2015). Industrial souvenir. Retrieved 20th January 2022 from https://bundanthai.com/th/news/18
Chaliaw Piyachon (2001) The heritage of Thai terracotta and scultures. 1st edition. Bangkok : Dansuttha publishing
Fine art department. (2022). Dhvaravati Art. Retrieved 20th January 2023 from https://www.finearts.go.th/main/view/31460
Rungroj Thamroongruang. (2015). Sculptures of musician. Retrieved 20th January 2022 from https://db.sac.or.th/seaarts/artwork/284
Supitchar Jindawattanaphum. (2022). The beauty of women in ancient time from the stucco patterns of Dvaravati period. 14th International conference. Nakhon Pathom:Rajabhat Nakhon Pathom University. Retrieved 20th January 2022 fromhttps://publication.npru.ac.th/bitstream/123456789/1845/1/npru-258.pdf
Thanongsak Lertpipatworakul. (n.d.). Sculptures of musician. Retrieved 20th January 2022 from https://db.sac.or.th/seaarts/artwork/284
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว