การออกแบบผลิตภัณฑ์และตราสินค้ารักษ์โลก ประเภท Upcycle
คำสำคัญ:
การออกแบบผลิตภัณฑ์รักษ์โลก, ตราสินค้ารักษ์โลก, การตลาดรักษ์โลก, ผู้บริโภครักษ์โลก, อัพไซเคิลโปรดักส์บทคัดย่อ
ปัจจุบันปัญหาภาวะโลกร้อนนับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นจนทำให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมามากมายทำให้ทั่วโลกเห็นความสำคัญในทุกภาคส่วนรวมถึงผู้บริโภคทั่วโลกหันมาใช้ผลิตภัณฑ์รักษ์โลกกันมากขึ้น โดยประเทศไทยได้พัฒนาแผน BCG Model ที่มุ่งเน้น เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) โดยมีเป้าหมายคำนึงถึงความยั่งยืนของทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการออกแบบผลิตภัณฑ์รักษ์โลกเป็นการตอบสนองความสำคัญดังกล่าวในระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งการออกแบบต้องคำนึงถึงปัจจัยหลักทั้งภายในและภายนอกที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยปัจจัยภายในได้แก่วัสดุและกรรมวิธีการผลิต ประโยชน์ใช้สอย และ สุนทรียศาสตร์ ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ การแข่งขันในตลาด ความเป็นสากล ความปลอดภัย และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่ง การออกแบบใช้หลัก 4R ได้แก่ การลดการใช้ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำกลับมาใช้ (Recycle) การซ่อมบำรุง (Repair) โดยมีแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์รักษ์โลกมีสองกระบวนการ ได้แก่ Upcycle กับ Recycle ซึ่งเมื่อออกแบบผลิตภัณฑ์รักษ์โลกเรียบร้อบสิ่งสำคัญประการต่อมาคือจำเป็นต้องมีตราสินค้ารักษ์โลกรวมถึงฉลากและตรารับรองด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับสากลอีกด้วย จึงมีข้อเสนอแนะนักออกแบบควรใส่ใจและวางแผนการออกแบบโดยคำนึงถึงหลักการดังกล่าวข้างต้นเพื่อให้นำมาสู่การผลิตสินค้ารักษ์โลกออกสู่ตลาดที่สามารถแข่งขันได้ในอนาคต
References
Ahn, S. H., & Lee, J. Y. (2018). Re-envisioning material circulation and designing process in upcycling design product life cycle. Archives of Design Research, 31(4), 5-20.
Bangkokbanksme. (2023, 1 june). ECO-Consumer Behaviour:https://www.bangkokbanksme.com/
Greenwork. (2023, 17 feb). Sustainable way : Upcycle and Recycle https://www.greennetworkthailand.com/upcycle-upcycling-recycle
Kanika Korpun. (2020). Impact of perceived differentiation of brand name bags from upcycled materials on intention to purchase among thai customers, AccBA Chiang Mai university Journal, 6(3), 183-189.
Kapook. (2023, 16 feb). ECO Trend recycle branding. https://erc.KaPook.com/article13.php
Naramon supmee. (2020). Brand Credibility and Perceived Uniqueness Affecting Consumers Willingness to Pay Upcycling Product in Bangkok, [Unpublished Independent study] Bangkok university.
Science Park Thailand. (2023, 18 feb). CIRCULAR ECONOMY. https://www.bcg.in.th/
Onesiamdotcom. (2023, 18 feb). Sackitem-upcycle-bag https://www.onesiam.com/th/living/sackitem-upcycle-bag
Pracha Chatdotnet. (2023, 18 feb). Eco-design. https://www.prachaChat.net/Public-relations/news-811617
PTTSPASSO THAILAND. (2023, 18 feb). Beautyful Eco Design. https://blog. pttexpresso.com/eco-design-the-design-that-more-than-beauty/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว