การออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้สําหรับแอพพลิเคชันเพื่อผู้ที่มีภาวะเครียด

ผู้แต่ง

  • สุเมธ จันทร สาขานวัตกรรมการสื่อสารการตลาดและดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

ส่วนต่อประสานผู้ใช้, แอพพลิเคชัน, ภาวะเครียด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้ (Interface) สําหรับแอพพลิเคชันเพื่อผู้ที่มีสภาวะเครียดให้ใช้งานได้ง่ายเหมาะสมกับผู้ใช้ และเพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้งานส่วนต่อประสานผู้ใช้สําหรับแอพพลิเคชันเพื่อผู้ที่มีภาวะเครียด ในกลุ่มเจนวาย (Gen Y)

โดยการทำวิจัยในครั้งนี้เป็นการการออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้สําหรับแอพพลิเคชันเพื่อผู้ที่มีภาวะเครียด โดยศึกษาข้อมูลเอกสาร (Documentary Research) จากข้อมูลจาก อินเตอร์เน็ต หนังสือ เอกสาร ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเครียด และการออกแบบที่ส่งผลต่ออารมณ์ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้สําหรับแอพพลิเคชันเพื่อผู้ที่มีสภาวะเครียด แบ่งผู้ให้ข้อมูลเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบจำนวน 3 ท่าน โดยเก็บข้อมูลปฐมภูมิด้วยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการออกแบบที่ส่งผลต่ออารมณ์ผู้ใช้งาน และใช้งานได้ง่ายตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพื่อนำมาแก้ไขและพัฒนาการออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้สําหรับแอพพลิเคชันเพื่อผู้ที่มีสภาวะเครียด กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มเป้าหมายผู้ที่มีสภาวะเครียดในกลุ่มเจนวาย (Gen Y) จำนวน 100 ท่าน ผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่ากลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมของภาวะเครียด ( = 3.54, S.D. = 0.46)  โดยกลุ่มเป้าหมายมีความรู้สึกไม่สบายใจ เศร้า ท้อแท้ สูงที่สุดถึง ( = 4.54, S.D. = 0.46) นำไปสู่การออกแบบการใช้งานของหน้าหลักออกแบบมาเพื่อให้กำลังใจผู้ใช้งานโดยเฉพาะ ส่งผลให้้ความพึงพอใจในการใช้งานแอพพลิเคชันอยู่ในระดับ ( = 4.47, S.D. = 0.57) และความพึงพอใจในการออกแบบแอพพลิเคชัน ( = 4.58, S.D. = 0.48)

ดังนั้นการออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้สําหรับแอพพลิเคชันเพื่อผู้ที่มีภาวะเครียด มีคุณสมบัติที่สอดคล้องกับความต้องการการใช้งานของผู้มีสภาวะเครียดอย่างแท้จริง

References

Design UI to reach customers' hearts! With 5 Framework DESIGN. (2020). Retrieved from https://www.brandbuffet.in.th/ 2018/10/thai-millennial-behavior-fleishman-hillard/ on March 10, 2023.

Dissecting 4 stress groups that affect health: Stress like we are in which group?. (2020). Retrieved from https://dmh. go.th/news-dmh/view.asp?id=30321 on March 10, 2023.

Dulapan, K. (2018). Social Network Use Behavior and Psychological Factors Predicting Depressive Disorder. Master's thesis, Communication and Innovation Branch, National Institute of Development Administration.

Dusit Poll. (2021). reveals that Thai people are experiencing high levels of stress and desperation during the COVID-19 pandemic. Retrieved from https://www. thaipost.net/main/detail/104634 on March 10, 2023.

Insight. (2018). provides an understanding of the behavior of Thai Millennials, the target group of the future with their own contradictions. Retrieved from https:// www.brandbuffet.in.th/2018/10/thai-millennial-behavior-fleishman-hillard/ on March 10, 2023.

Ponphichetkul, R. (2001). Stress and Quality of Work Life: A Case Study of the Siam Commercial Bank Public Company Limited. Master's thesis, Industrial and Organizational Psychology Department, Faculty of Arts, Thammasat University.

The Art of Emotion — Norman's 3 Levels of Emotional Design. (2019). Retrieved from https://medium.muz.li/the-art-of-emotion-normans-3-levels-of-emotional-design-88a1fb495b1d on April 1, 2023.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30