แนวทางการออกแบบอัตลักษณ์และตกแต่งภายในสำหรับร้านค้าทุเรียนจันท์

ผู้แต่ง

  • ปิยะวรรค์ ปิ่นแก้ว คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • พัชริยาภรณ์ พึ่งพักตร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การออกแบบอัตลักษณ์, การออกแบบร้านค้าปลีก, ออกแบบตกแต่งภายใน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตลักษณ์สำหรับร้านค้าทุเรียนจันท์ และเสนอแนะการออกแบบตกแต่งภายในร้านค้าทุเรียนจันทร์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับทุเรียนจาก จังหวัดจันทบุรี รวมไปถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปที่เป็นสินค้าท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยมีวิธีวิจัยจากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทุเรียนจันท์และผลิตภัณฑ์ที่สำคัญของจังหวัดจันทบุรี วิเคราะห์ข้อมูลและนำมาสังเคราะห์สู่กระบวนการออกแบบ โดยใช้หลักการออกแบบอัตลักษณ์องค์กรและหลักการออกแบบตกแต่งภายในร้านจำหน่ายสินค้า จากนั้นได้สร้างผลงานการออกแบบภาพสามมิติด้วยโปรแกรม Sketch up โดยขอบเขตในงานวิจัยนี้ ได้ทำการออกแบบร้านจำหน่ายทุเรียนจันท์ทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่ 1) ร้านค้าภายในห้างสรรพสินค้า ขนาดพื้นที่ 201.60 ตารางเมตร 2) ศูนย์การค้าชุมชน (Community Mall) ขนาดพื้นที่ 96.00 ตารางเมตร 3) บูธงานอีเว้นต์ (Booth) ขนาดพื้นที่ 36.00 ตารางเมตร 4) คีออส (Kiosk) ขนาดพื้นที่ 9.00 ตารางเมตร และ 5) ฟู้ดทรัค (Food Truck) ขนาดพื้นที่ 9.78 ตารางเมตร ผลลัพธ์ในงานวิจัยนี้ ได้แนวคิดในการสร้างอัตลักษณ์จากเปลือกทุเรียนและอัญมณี ซึ่งเป็นการนำสองสิ่งที่มีชื่อเสียงของจังหวัดจันทบุรี มาสร้างอัตลักษณ์ด้วยการนำรูปร่างและรูปทรงเหลี่ยม มีมุมแหลม ได้แรงบันดาลใจมาจากเปลือกทุเรียนและการเจียระไนอัญมณี มาสร้างภาพลักษณ์ให้มีความทันสมัย ผนวกกับสีเหลืองจากทุเรียน ซึ่งเป็นสีหลักในการสร้างอัตลักษณ์และตกแต่งภายในร้านค้าทุเรียนจันท์ทั้ง 5 ประเภท โดยทุกพื้นที่การออกแบบจะมีสีเหลืองเป็นสีองค์กร และรูปร่างของมุมแหลมเหลี่ยม เป็นลวดลายของทุกร้าน ซึ่งแต่ละร้านมีพื้นที่เหมือนกัน ได้แก่ พื้นที่ประกอบของหวานและเครื่องดื่ม พื้นที่ซื้อขาย พื้นที่จัดแสดงสินค้า และพื้นที่นั่งทาน เพื่อให้ตอบสนองต่อการใช้งานของแต่ละพื้นที่และกลุ่มผู้มาใช้บริการ

References

Ekapong Tritrong. (2007). Shop Design. Bangkok: Odeon Store Publishing. Farmer Technology. (2020, May 6). Chanthaburi hybrid durian. https://www.technologychaoban.com/

Mrs.Tu Chansiri and Mr.Pitak Chansiri. (2020). Interviewees for Chanthaburi farmers.

Preechaya Kru Kaset, Supatra Lookrak, Piyawan Pinkaew and Kittisak Techakanjanakij. (2020). A study of local identity in the Northeastern region. for use in designing the physical environment within a building To promote tourism, a case study of community shops. (Research report). Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University.

Sahapop Halamjiak. (2016). Design Identity. Publication and Packaging Design Branch, Suan Sunandha Rajabhat University.

Samatapaph. (2022). Corporate Identity Design. Retrieved November 1, 2021, from https://samatapaph.com/article

Sumitra Sriwiboon. (2004). Identity design. Core Function Publishing House.

Wattana Juthawiphak. (2011). The art of interior design. 3rd edition. Bangkok: Pimdee.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30