การออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งจากเศษไม้สำหรับสวนพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ศูนย์การศึกษาสามพร้าว

ผู้แต่ง

  • ธีระยุทธ์ เพ็งชัย สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • นิวัฒน์ เมืองสุวรรณ์ สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์ของตกแต่ง, เศษไม้, สวนพฤกษศาสตร์, พญานาค, สไตล์ร่วมสมัย

บทคัดย่อ

การวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งจากเศษไม้สำหรับสวนพฤกษศาสตร์มหาวิทยาลัย    ราชภัฏอุดรธานีศูนย์การศึกษาสามพร้าว มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาแนวทางการนำเศษไม้มาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ตกแต่งสวน 2) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ตกแต่งสวนจากเศษไม้สำหรับสวนพฤกษศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีศูนย์การศึกษาสามพร้าว 3) เพื่อประเมินความคิดเห็นของกลุ่มผู้ใช้ที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของตกแต่งจากเศษไม้ สำหรับสวนพฤกษศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีศูนย์การศึกษา    สามพร้าว

ผู้ให้ข้อมูลการวิจัย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสวนพฤกษศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีศูนย์การศึกษาสามพร้าว ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่น ด้านการแกะสลักไม้และด้านศิลปะไทย จำนวน 3 คน กลุ่มนักศึกษา บุคลากร และบุคคลทั่วไปที่เข้าชมสวนพฤกษศาสตร์มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุดรธานี จำนวน 104 คน เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือคือแบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความพึงพอใจ

ผลการวิจัยพบว่า 1) การนำเศษไม้มาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งสวน ควรเป็นเศษไม้เนื้อแข็ง เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์กลางแจ้ง ไม้เนื้อแข็งจึงมีความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพอากาศ โดยไม้ประดู่และไม้แดงมีความเหมาะสมเนื่องจากมีสีสวยงามเหมาะสมสำหรับนำมาแกะสลักได้สวยงาม 2) การออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งสวนรูปแบบกึ่งประติมากรรมโดยใช้เทคนิคการแกะสลักมาประยุกต์ใช้กับวิธีการแกะสลักลวดลายที่มีความสวยงามโดยประยุกต์การออกแบบในสไตล์ร่วมสมัย ได้แรงบันดาลใจมาจากพญานาค เพื่อสื่อถึงความเชื่อถึงการปกป้องคุ้มครองและการเคารพของชาวอีสาน 3) ผลการประเมินความ พึงพอใจต่อผลงาน พบว่านักศึกษา ความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ของตกแต่งส่วนจากเศษไม้รูปแบบกึ่งประติมากรรมสไตล์ร่วมสมัยอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.50, S.D. = 0.65) ด้านประโยชน์ใช้สอยประติมากรรมไม้แกะสลักรูปพญานาค อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.23, S.D. = 0.68) และด้านความสวยงาม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.43, S.D. = 0.63)

References

Watcharapong Khemtong and Pongthep Rakphakawong. (2016). Study of tree growth in the tree planting project. Million Kla Maha Auspicious within the area of Pibulsongkram Rajabhat University, shown through Google Maps. National Academic Conference Report Kamphaeng Phet Rajabhat University Research and Development Institute No. 3. 3(1): 522; 22 December 2016.

Singh Intrachooto. (2009). Reuse, The Art Of Reclaim. Bangkok: Pha Boonma Co., Ltd.

Adool Booncham. (2017). Contemporary Sculptures: Decoding the Body of Aesthetic Knowledge Suitable for Public Parks. (Doctoral dissertation). Mahasarakham University, Mahasarakham

Wibul Pensuk. (2020, July 30). Background and importance of Botanical Garden [Interview]. Sam Phrao Education Center, Udon Thani Rajabhat University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30